วรรณภา วรรณศรี
“การเตรียมความพร้อมมาอย่างดีเท่ากับได้ชัยชนะมาครึ่งหนึ่งแล้ว” คำกล่าวนี้ทำหน้าที่พิธีกรทุกคนควรจะตรึกระลึกเพื่อเตือนตนเองอยู่เสมอ เพราะการเตรียมความพร้อมที่ดีจะช่วยให้การทำหน้าที่ของพิธีกรราบรื่น และยังเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่พิธีกรอีกด้วย หากเป็นเช่นนี้..แล้วเราควรจะเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้างในฐานะพิธีกร ? จะขอกล่าวแยกเป็น 3 ประเด็นใหญ่ๆ ดังนี้
การเตรียม...เพื่อสะสมความรอบรู้
เสน่ห์ของพิธีกรก็คือความรู้ในเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการพูดแต่ละครั้งซึ่งมิได้หมายความเฉพาะการรู้เจาะลึกในเรื่องราวที่จะพูดโดยตรงเท่านั้น หากแต่เป็นการรอบรู้เรื่องราวที่สามารถขยายโลกทัศน์ของผู้ฟังให้เกิดความรู้ความเข้าใจกว้างขวางขึ้น และเป็นสิ่งที่สามารถเชื่อมโยงกับเรื่องราวหรือบรรยากาศ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสาระการพูดนั้นๆ ด้วย ในส่วนของการสะสมความรอบรู้ จะขอแบ่งออกเป็น 2 ประการ ได้แก่
1. ความรอบรู้ในเรื่องราวที่จะพูดโดยตรง สมมติว่าท่านต้องทำหน้าที่พิธีกรในงานพระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธี 5 ธันวามหาราช หรืองานพิธีการที่มีพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จหรืองานที่มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นประธาน เหล่านี้เป็นต้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านจะต้องรู้จักใช้คำราชาศัพท์ หรือคำพูดให้เหมาะสมกับลำดับชั้นของบุคคล
นอกจากนี้ หากท่านต้องเป็นพิธีกรงานแต่งงาน งานบวช งานศพ งานเลี้ยงส่ง ฯลฯ ท่านจะต้องศึกษาการพูดตามวัฒนธรรมของแต่ละงานให้ถูกต้อง ผู้เขียนเคยไปร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ พิธีกรในวันนั้นคงจะตั้งใจมากเมื่อถึงเวลาที่ผู้อัญเชิญหีบเพลิงพระราชทานมาถึง พิธีกรก็กล่าวขึ้นว่า “วันนี้นับเป็นศิริมงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหีบเพลิง.....” แขกหรือในงานทั้งอมยิ้ม ทั้งอึ้งไปตามๆ กัน เพราะอันที่จริงแล้วงานศพถือเป็นงานอวมงคลที่ถูกน่าจะพูดว่า “วันนี้นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานหีบเพลิง เพื่อประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพแก่......”
หากท่านต้องทำหน้าที่พิธีกรงานประเพณีต่างๆ เช่น งานลอยกระทง งานทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่ งานประเพณีสงกรานต์ หรือทำหน้าที่พิธีกรในวันสำคัญทางศาสนาเหล่านี้ เป็นต้น ท่านจะต้องศึกษาที่มาที่ไปของงานนั้น ๆ ได้ดี ไม่ว่าจะเป็นประวัติของงาน จารีตประเพณี รวมทั้งกิจกรรมที่นิยมกระทำในงานนั้น ๆ ด้วย ไม่ใช่ว่ามาทำหน้าที่อ่านกำหนดการจัดงานอย่างเดียวเท่านั้น ความรอบรู้อย่างลุ่มลึกในสาระเรื่องราวที่เกี่ยวกับการพูดของท่านโดยตรง ถือเป็นกฎเหล็กของการทำหน้าที่พิธีกรเลยก็ว่าได้ (ความเห็นของผู้เขียน) เพราะฉะนั้นการทำหน้าที่ของท่านก็จะเป็นเพียง “ผู้ส่งเสียงบอก” เท่านั้น
2. ความรอบรู้ในเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับการพูด หากจะเปรียบการพูดเหมือนอาหารแล้ว เมื่อใดที่ผู้บริโภค คือ ผู้ฟังต้องรับประทานข้าวเปล่าโดยไม่มีกับข้าวหรือน้ำดื่มเพื่อทำให้กระบวนการรับประทานครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว อาหารมื้อนั้นก็คงจะฝืดคอเต็มที สาระที่พิธีกรพูดก็เช่นกัน หากเป็นเพียงเนื้อโดยไม่มีน้ำบ้างก็ดูกระไรอยู่ ขอขยายความตรงนี้ว่า สมมติท่านต้องทำหน้าที่พิธีกรงานลอยกระทงบริเวณชายหาดพัทยา แน่นอนท่านต้องพูดเรื่องราวประวัติความเป็นมาของประเพณีลอยกระทง และกิจกรรมที่กระทำให้วันนี้ ส่วนนี้ คือ ความรอบรู้ในสาระที่พูดโดยตรงซึ่งตรงกับข้อความประการแรกที่กล่าวข้างต้น แต้ถ้าหากท่านเพิ่มเติมเรื่องราวของการลอยกระทงในทะเลว่ามีความแตกต่างอย่างไร กับการลอยกระทงในน้ำจืด หรือถ้าท่านพูดถึงเกร็ดย่อยๆ อื่น เช่นความเป็นมาของเพลงลอยกระทงเพิ่มเติมขึ้นมา ส่วนนี้คือ ความรอบรู้ตามความหมายในข้อความประการที่สอง
ตัวอย่าง คำพูดของพิธีกรในงานลอยกระทง
“.....ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านคะ ประเพณีลอยกระทงเป็นสิ่งที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล หลายท่านที่มาร่วมงานในวันนี้ โดยเฉพาะเด็ก ๆ และเยาวชนอาจจะยังไม่ทราบว่าประเพณีลอยกระทงมีความเป็นมา ซึ่งปรากฏตามเอกสาร หรือหนังสือที่นำมาเป็นข้อมูล ”
จากตัวอย่างเป็นการพูดแสดงความรอบรู้ในเรื่องราวโดยตรง เพราะพูดถึงความเป็นมาของประเพณี ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลสากลทางวัฒนธรรมในสังคมของไทย “....ทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวความเป็นมาของประเพณีลอยกระทง ซึ่งเป็นวัฒนธรรมประเพณีคู่ชาติไทยมาเนิ่นนาน แต่ท่านผู้มีเกียรติงานประเพณีลอยกระทง เราจะพบเห็นว่าจะลอยกระทงกันในแม่น้ำลำคลองเป็นส่วนใหญ่ แต่คืนวันนี้เมืองพัทยา เราจะลอยกระทงกันในท้องทะเลซึ่งเป็นบรรยากาศที่แตกต่างจากการลอยกระทงในแม่น้ำลำลอง น้ำทะเลจะขึ้นเต็มที่ก็ต้องร่วม 24 นาฬิกา หรือ 6 ทุ่มไปแล้ว ซึ่งนี้ก็เป็นธรรมชาติของทะเลคือเพ็ญ เดือน 12 เพราะฉะนั้นถ้าจะลอยกระทงให้ได้บรรยากาศก็ต้องรอให้น้ำขึ้นเต็มที่ ดิฉันคิดว่าธรรมชาติเอื้ออำนวยกับชาวพัทยาจริงๆ ตอนนี้ขอเชิญชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม 4 ภาค ก่อนค่ะ..…” จะเห็นได้ว่า การขยายความเกี่ยวกับลักษณะธรรมชาติการลอยกระทงที่ชายหาดพัทยาเป็นการพูดแสดงความรอบรู้ในเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่อง เป็นการเพิ่มสีสันของการพูดให้น่าสนใจยิ่งขึ้นเหล่านี้เป็นต้น
นอกจากนี้ พิธีกรจะต้องทันเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น ชื่อ – ตำแหน่งของบุคคลที่เอ่ยถึงต้องเป็นปัจจุบัน หากไม่มั่นใจก็ควรเอ่ยเฉพาะตำแหน่งจะเหมาะกว่า เช่นสมมุติว่ามีนายอำเภอเพิ่งย้ายมาใหม่ ท่านไม่แน่ใจว่านายอำเภอชื่อเสียงเรียงนามว่าอย่างไร ก็เอ่ยเพียงตำแหน่งก็เพียงพอ เพราะหากพูดชื่อ – นามสกุลผิดไปจะทำให้เสียหายมากกว่าได้ดี
ผู้เขียนขอเสนอแนะว่า พิธีกรควรจะจัดทำแฟ้มข้อมูลส่วนตัวเพื่อเก็บสะสมรายละเอียดสาระที่จะเป็นข้อมูลในการพูด สิ่งเหล่านี้จะเป็นวัตถุดิบในการพูดให้เป็นอย่างดี สำหรับผู้เขียนเองจะมีแฟ้มชื่อว่า “ล้วนสาระ” ไว้เก็บวัตถุดิบทางการพูดไว้ เมื่อถึงคราวจะพูดก็จะหยิบขึ้นมาใช้ได้ทันทีโดยเฉพาะข้อมูลที่เราต้องพูดตามกาลเวลา เช่น งานลอยกระทง งานสงกรานต์ เป็นต้นการเตรียม.....จัดสาระและขั้นตอน ในการทำหน้าที่แต่ละครั้งของพิธีกรจะต้องวางแผนอย่างรัดกุมและครอบคลุมทั้งสาระเรื่องราวที่จะพูดและขั้นตอนต่างๆ เพราะโดยทั่วไปพิธีกรซึ่งเป็นคนในหน่วยงาน หรือองค์กรที่ได้รับมอบหมายให้พูด หรือถูกเชิญไปพูดมักจะไม่มี “จัดการ” ดูแลรายละเอียดต่างๆ ให้ ซึ่งถ้าเป็นกรณีผู้มีอาชีพพิธีกรโดยเฉพาะตามรายการโทรทัศน์ หรือบางงานอาจว่าจ้างบริษัทมาดำเนินการให้ เช่น งานแสดงคอนเสิร์ต งานประกวดนางงาม เหล่านี้เป็นต้น ลักษณะนี้จะมีการจัดเตรียมทีมงานเขียนบทพูด (Script) และจัดขั้นตอนรายการให้เสร็จสรรพก็ถือว่าเป็นกรณีพิเศษไป แต่อย่างไรก็ตามพิธีกรก็ไม่ควรประมาท และเตรียมความพร้อมของ “สาระ” ให้ดี คำว่า “สาระ” ในที่นี้ความหมายรวมถึงลำดับขั้นตอนการพูด และโครงสร้างของงานทั้งหมดด้วย ซึ่งมีข้อแนะนำ ดังนี้
1) ต้องหาข้อมูลว่าเราจะไปพูดงานอะไร สถานที่หรือบรรยากาศของงานเป็นอย่างไรมีใครเป็นประธานในงาน ผู้ฟังเป็นใคร มี่จำนวนมากน้อยแค่ไหน จะต้องใช้เวลาทำหน้าที่นานเท่าใด จากนั้นต้องนำมาวางแผนการพูดเพื่อให้ “ฟังสบายหู ดูสบายตา พาสบายใจ” พิธีกรหลายคนต้องประสบสภาวะ “ตกม้าตาย” เพราะความไม่รอบคอบ เช่น การพูดในที่กลางแจ้งกับการพูดในห้องประชุมบรรยากาศก็ต่างกันแล้ว ห้องแอร์ที่เย็นสบายกับห้องที่มีพัดลมแต่อบอ้าวก็เป็นปัญหาในการพูด เมื่อรู้ข้อมูลทั่วๆ ไป ดังกล่าวแล้วก็เตรียมนำมาจัดขั้นตอนการทำหน้าที่เพื่อให้เกิดความพรั่งพรูทั้งภาษา และลีลาการพูด
2) ควรจัดทำกำหนดการของงานไว้คร่าวๆ ว่าใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร หากบางงานเจ้าของงานเตรียมกำหนดการขั้นตอนไว้แล้วก็ต้องขอข้อมูลเหล่านั้นมาศึกษาก่อน และสอบถามพูดคุยจนเป็นที่เข้าใจตรงกันกับเจ้าของงานหรือผู้รับผิดชอบ ถ้าหากเจ้าของงานไม่จัดเตรียมขั้นตอนของงานไว้แน่นอนที่สุด พิธีกรต้องจัดเตรียมให้และชี้แจงให้เจ้าของงานรับทราบแลเห็นชอบ บางงานเจ้าของงานจะเตรียมขั้นตอนเสียเยินเย้อ พิธีกรต้องช่วยให้คำแนะนำด้วย
3) ต้องศึกษาโครงสร้างของการพูดแต่ละงานให้ถ่องแท้ งานที่เป็นทางการ เช่น งานพระราชทานเพลิงศพ งานที่ไม่เป็นทางการหรืองานกึ่งทางการโครงสร้างของการพูดจะแตกต่างกัน
ดังนั้น จะเห็นว่า พิธีกรจะต้องมีความเชี่ยวชาญทั้งด้านการพูด การจัดลำดับขั้นตอนของงานไปพร้อมๆ กัน เพราะพิธีกร คือ ผู้ที่สร้างสรรค์บรรยากาศของงานโดยแท้จริง พิธีกร คือ คนแรกที่ต้องพูด และเป็นคนสุดท้ายที่ต้องพูดในงานทุกครั้ง
การเตรียม.....เพื่อการศึกษา
เมื่อเตรียมกระบวนท่าพร้อมลงสู่สนามตามข้อแนะนำต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นมาแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนของการเตรียมบรรเลงกระบวนท่า และลีลาให้สมกับผู้ทำหน้าที่พิธีกร ซึ่งจะแยกประเด็นเป็น 2 วาระ ดังนี้
1) เตรียมตัวก่อนทำหน้าที่ ทุกครั้งก่อนที่จะขึ้นทำหน้ามี่พิธีกรควรวางแผนเตรียมการอย่างรัดกุม สำหรับผู้เขียนเองโดยปกติจะเตรียมตัวเป็น 2 ระยะ ดังนี้
1.1 การเตรียมตัวระยะยาว ซึ่งอาจจะเป็นการเตรียมการตั้งแต่ก่อนทำหน้าที่ตั้งแต่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป บางงานที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ เช่น การทำหน้าที่ต่อเบื้องพระพักตร์พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้เขียนจะต้องใช้เวลาเป็นเดือน (หากทราบล่วงหน้าเป็นระยะยาว) แล้วเตรียมอะไรบ้าง
1.1.1 ศึกษาขั้นตอนกำหนดงาน และพยายามศึกษาจากงานต่างๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยอาจดูจากตามรายการโทรทัศน์ทั้งนี้เพื่อศึกษารูปแบบของงาน และลีลาการพูด รวมทั้งภาษาพูดของพิธีกร
1.1.2 ศึกษาหาข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับงานนั้นๆ โดยการอ่านหนังสือตำราที่เกี่ยวข้อง หรือพูดคุยจากบรรดาผู้รู้ทั้งหลาย
1.1.3 จัดทำสรุปข้อมูลย่อๆ ในรายละเอียดต่างๆ ที่จะนำมาเป็นวัตถุดิบในการพูด
1.1.4 บางกรณีเจ้าของงานจะยังไม่ได้จัดเตรียมกำหนดการขั้นตอนของงานไว้หรือเตรียมไว้แต่ดูยังไม่เหมาะสมพิธีกรต้องช่วยแนะนำด้วย
1.1.5 วางแผนเรื่องการแต่งกายให้เหมาะสม
1.2 การเตรียมตัวระยะสั้น หมายถึง การเตรียมตัวในวันที่จะทำหน้าที่ส่วนนี้ ถือว่า สำคัญยิ่งกว่าการเตรียมตัวในระยะแรก สำหรับผู้เขียนจะเตรียมการ ดังนี้
1.2.1 ไปถึงงานอย่างน้อย ที่สุด 1 ชั่วโมง หรือหากขัดข้องจริงๆ จะต้องไปถึงงานอย่างน้อย 30 นาที ก่อนถึงเวลาเริ่มงาน เพื่อดูความพร้อมของงาน และฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.2.2 เดินสำรวจบริเวณงานโดยเฉพาะเวที หรือบริเวณที่เราจะต้องยืนพูดเราจะต้องลองเดินขึ้นลงบริเวณเวที และสังเกตว่าบันไดเป็นอย่างไร ขั้นบันไดสูงชันหรือไม่ พื้นเวทีเรียบหรือไม่ การก้าวเดินของเราจะต้องมีเส้นทางอย่างไรจะขึ้นเวทีด้านใดเหล่านี้เป็นต้น
1.2.3 หากจะต้องยืนพูดที่แท่นพูด (Podium) จะต้องลองไปยืนดูและสังเกตว่าความสูงของเราเหมาะสมหรือไม่ ต่ำไปหรือสูงไป หากต่ำไปควรรีบจัดการหาอุปกรณ์ช่วยเสริม เช่น ลังน้ำอัด ขอแนะนำว่าควรหาผ้าคลุมลังด้วยเพราะลังจะมีลักษณะเป็นช่อง เมื่อเราขึ้นไปยืนรองเท้าส้นสูงอาจจะไปติดค้างในช่องได้ หากเราสูงเกินไปอาจจะแก้ไขโดยอะไรรองใต้ขาไมค์โครโฟนก็พอจะช่วยได้ สิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างก็คือ บรรดาช่อดอกไม้หน้า Podium อย่าให้บังหน้าตาขณะที่พูดต้องรีบแก้ไขโดยด่วนก่อนทำหน้าที่ บริเวณ Podium มีแสงสว่างพอหรือไม่ต้องตรวจสอบให้เรียบร้อย
1.2.4 ศึกษาอุปกรณ์เครื่องเสียงต่างๆ จากเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุม ต้องทดลองดูว่าเสียงชัดเจนหรือไม่ ไมโครโฟนบางแบบบางรุ่นมีคุณภาพต่างกัน เช่น บางรุ่นพูดห่างประมาณ 1 คืบ เสียงได้ยินชัด บางรุ่นต้องดึงมาใกล้ปากเหมือนนักร้องเสียงจึงจะชัดเจน
1.2.5 เมื่อตรวจสภาพความพร้อมของบริเวณและอุปกรณ์แล้ว ควรหาแนวร่วม เพื่อส่งเสริมบรรยากาศยอมรับการพูดของเรา นั่นคือ อาจจะหาโอกาสพูดคุยกับผู้คนในงานเพื่อทำความรู้จักและสร้างสายสัมพันธ์ก่อนพูด เมื่อถึงเวลาทำหน้าที่จะช่วยสร้างความคุ้นเคยกันระหว่างผู้พูดและผู้ฟังได้ แต่อย่างไรก็ตามกรณีดังกล่าวอาจจะไม่ใช่กับการทำหน้าที่ทุกงาน
2) การเตรียมตัวขณะทำหน้าที่ เมื่อพิธีกรเริ่มทำหน้าที่นับแต่วินาทีแรกจนกระทั่งสิ้นสุดงาน นับเป็นการลงสนามแล้ว ทุกกิริยาอาการ ทุกคำพูด คือ ภาพลักษณ์ของความสำเร็จที่ผู้ฟังผู้ชมสมหวัง ถึงจุดนี้พิธีกรต้องทำอย่างไร เพื่อให้ดูดีที่สุดสูตรสำเร็จก็คือ ต้องทำให้ผู้ฟังผู้ชมรู้สึก “ฟังสบายหู ดูสบายตา และพาสบายใจ” ผู้เขียนมีข้อแนะนำจากประสบการณ์ตรง ดังนี้
2.1 เมื่อถึงเวลาต้องพูด การก้าวเดินออกไปยังเวทีหรือจุดที่พูดต้องเดินไปอย่างสง่าผ่าเผย ไม่ก้มหน้าดูปลายเท้า หรือพื้นขณะเดิน หรือเดินเชิดหน้าคอตั้งจนเกินไป เวลาเดินต้องดูกระฉับกระเฉง แต่ไม่ต้องถึงขนาดวิ่งออกมาอย่างลุกลี้ลุกลน ยกเว้น บางงานจะกำหนด Script ไว้ การยืนต้องตัวตรงหลังตรง ถ้านั่งพูดก็ต้องนั่งให้สง่าไม่นั่งไขว่ห้าง หรือนั่งแกว่งแข้งขา
2.2 หากเป็นไปได้ถ้าต้องยืนพูดที่ Podium ควรนำเอกสารข้อมูลการพูดไปว่างไว้ก่อน เวลาเดินขึ้นไปจะได้ไม่ต้องหอบอะไร พะรุงพะรัง
2.3 ขณะพูดต้องมองหน้าผู้ฟังแบบกวาดสายตา ไม่ใช่จ้องอยู่ที่เดียว อย่าก้มอ่านเสียจนไม่เงยหน้า
2.4 ต้องระลึกเสมอว่า พิธีกรคือคนพูดคนแรก และคนสุดท้ายของงาน ดังนั้น เมื่อเริ่มทำหน้าที่พิธีกรจะต้องสังเกตปฏิกิริยาของผู้ฟัง ตลอดเวลาว่าผู้ฟังเบื่อหน่ายหรือไม่ พิธีกรต้องหาวิธีการพูดให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ดีขึ้นให้ได้ พิธีกรจะต้องยืนอยู่บริเวณใกล้เวทีเพื่อเตรียมทำหน้าที่อย่างต่อเนื่อง เช่น พิธีกรกล่าวเชิญประธานมากล่าวเมื่อเขากล่าวจบ พิธีกรต้องเข้าไปทำหน้าที่พูดทันที การปล่อยเวทีให้ว่างเปล่า และเงียบถือเป็นความรับผิดชอบของพิธีกร
เหล่านี้ เป็นเพียงขอแนะนำกว้างๆ เท่านั้น เพราะเมื่อทำหน้าที่จริงๆ จะมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญของพิธีกรในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ความเชี่ยวชาญดังกล่าว เกิดได้จากการศึกษา การฝึกฝนอย่างจริงจัง และด้วยความรักในหน้าที่พิธีกรเท่านั้น
หาอะไรก็เจอ
Thursday, September 3, 2009
ความรู้พื้นฐานที่พิธีกรควรรู้
วรรณภา วรรณศรี
ในสมัยก่อนเรามักจะได้ยินคำเรียกขานผู้ทำหน้าที่พูดหรือดำเนินรายการสำหรับกิจกรรมต่างๆ ที่หน่วยงานหรือองค์กรจัดขึ้นว่า “โฆษก” เช่น โฆษกงานวัด โฆษกงานแต่งงานโฆษกสถานีวิทยุ โฆษกโทรทัศน์ เหล่านี้ เป็นต้น
ต่อมาโฆษกสถานีวิทยุ หรือโทรทัศน์จะมีคำเรียกว่า “ผู้ประกาศ” แทนโดยสรุปก็คือเราจะได้ยินอยู่ 2 คำนี้ คือ “โฆษก” และ “ผู้ประกาศ” ในระยะหลังๆ จึงปรากฏมีผู้ใช้คำว่า “พิธีกร” เพิ่มมาอีก 1 คำ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน เรามาศึกษาดูความหมายของคำทั้ง 3 คำนี้กันสักหน่อย
ในสมัยก่อนเรามักจะได้ยินคำเรียกขานผู้ทำหน้าที่พูดหรือดำเนินรายการสำหรับกิจกรรมต่างๆ ที่หน่วยงานหรือองค์กรจัดขึ้นว่า “โฆษก” เช่น โฆษกงานวัด โฆษกงานแต่งงานโฆษกสถานีวิทยุ โฆษกโทรทัศน์ เหล่านี้ เป็นต้น
ต่อมาโฆษกสถานีวิทยุ หรือโทรทัศน์จะมีคำเรียกว่า “ผู้ประกาศ” แทนโดยสรุปก็คือเราจะได้ยินอยู่ 2 คำนี้ คือ “โฆษก” และ “ผู้ประกาศ” ในระยะหลังๆ จึงปรากฏมีผู้ใช้คำว่า “พิธีกร” เพิ่มมาอีก 1 คำ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน เรามาศึกษาดูความหมายของคำทั้ง 3 คำนี้กันสักหน่อย
โฆษก
“โฆษก” เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี-สันกฤตว่า “โฆษก” ซึ่งในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Announcer” หรือ “Spokeman” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายไว้ว่าผู้ประกาศ,ผู้โฆษณา เช่น โฆษณาสถานีวิทยุ : ผู้แถลงข่าวแทน เช่น โฆษกพรรคการเมือง จะเห็นว่า แต่เดิมในบ้านเมืองเรา จะใช้คำว่า “โฆษก” กันเป็นอย่างเดียวเป็นส่วนใหญ่สนามมวย ผู้ประกาศ หรือผู้โฆษณาในทุกงานและทุกอาชีพ เช่น ตามสถานีวิทยุโทรทัศน์ ก็จะเรียกว่า โฆษกวิทยุ โฆษกโทรทัศน์ ผู้ประกาศในการแข่งขันชกมวย ก็เรียกว่า โฆษกสนามมวย ผู้ประกาศตามงานวัดก็เรียกว่า โฆษกงานวัน ผู้ประกาศในงานแต่งงาน ก็เรียกว่า โฆษกงานแต่งงาน สรุปว่าเมื่อต้องประกาศ หรือบรรยายในงานใดๆ ก็จะเรียกว่า โฆษกตามลักษณะของงานนั้น
“โฆษก” เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี-สันกฤตว่า “โฆษก” ซึ่งในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Announcer” หรือ “Spokeman” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายไว้ว่าผู้ประกาศ,ผู้โฆษณา เช่น โฆษณาสถานีวิทยุ : ผู้แถลงข่าวแทน เช่น โฆษกพรรคการเมือง จะเห็นว่า แต่เดิมในบ้านเมืองเรา จะใช้คำว่า “โฆษก” กันเป็นอย่างเดียวเป็นส่วนใหญ่สนามมวย ผู้ประกาศ หรือผู้โฆษณาในทุกงานและทุกอาชีพ เช่น ตามสถานีวิทยุโทรทัศน์ ก็จะเรียกว่า โฆษกวิทยุ โฆษกโทรทัศน์ ผู้ประกาศในการแข่งขันชกมวย ก็เรียกว่า โฆษกสนามมวย ผู้ประกาศตามงานวัดก็เรียกว่า โฆษกงานวัน ผู้ประกาศในงานแต่งงาน ก็เรียกว่า โฆษกงานแต่งงาน สรุปว่าเมื่อต้องประกาศ หรือบรรยายในงานใดๆ ก็จะเรียกว่า โฆษกตามลักษณะของงานนั้น
ผู้ทำหน้าที่โฆษกบางครั้งก็จะปรากฏตัวให้ผู้มาร่วมงานเห็น บางครั้งก็จะส่งแต่เสียงออกมาอย่างเดียว โฆษกจะพูดไปได้เรื่อยๆ เท่าที่มีเวลา และอาจจะแทรกความคิดเห็นของตนเพิ่มเติมในการพูดได้ การพูดของโฆษกค่อนข้างอิสระ ยกเว้น โฆษกรัฐบาล หรือโฆษกพรรคการเมือง หรือโฆษกตามตำแหน่งที่หน่วยงานแต่งตั้งขึ้น การพูดจะค่อนข้างเป็นทางการ และต้องปรากฏตัวให้ผู้ฟังเห็นในขณะพูด
ผู้ประกาศ
ในส่วนของความหมายโดยตรงไม่มีระบุในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 แต่ระบุว่าโฆษก หมายถึงผู้ประกาศ ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้นำคำว่า “ผู้ประกาศ” มาใช้แทนโฆษก แต่มักจะใช้เรียกโฆษกทางสถานีวิทยุโทรทัศน์มากกว่า เช่น ผู้ประกาศข่าววิทยุ ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์ต่อมามักจะเรียกว่า “ผู้อ่านข่าว” ตามลักษณะงานที่ทำ
ตามความคิดเห็นของผู้เขียนแล้ว ผู้ประกาศ และโฆษกมีความหมายเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ลักษณะงานที่ทำ นั่นคือ ผู้ประกาศจะทำหน้าที่บอกเรื่องราวเหตุการณ์ที่กำหนดจัดเรียงข้อความตามลำดับมาแล้วเพื่อสื่อให้ผู้ฟังชมทราบ แต่จะไม่สามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ เช่น การประกาศรายงานสภาพอากาศ การประกาศรายงานสภาพการจราจร การประกาศข่าวของทางราชการ เป็นต้น ผู้ประกาศจะแสดงตัวให้ผู้ฟังผู้ชมเห็นตัวหรือไม่ก็แล้วแต่สถานการณ์หรือลักษณะงาน
ในส่วนของความหมายโดยตรงไม่มีระบุในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 แต่ระบุว่าโฆษก หมายถึงผู้ประกาศ ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้นำคำว่า “ผู้ประกาศ” มาใช้แทนโฆษก แต่มักจะใช้เรียกโฆษกทางสถานีวิทยุโทรทัศน์มากกว่า เช่น ผู้ประกาศข่าววิทยุ ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์ต่อมามักจะเรียกว่า “ผู้อ่านข่าว” ตามลักษณะงานที่ทำ
ตามความคิดเห็นของผู้เขียนแล้ว ผู้ประกาศ และโฆษกมีความหมายเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ลักษณะงานที่ทำ นั่นคือ ผู้ประกาศจะทำหน้าที่บอกเรื่องราวเหตุการณ์ที่กำหนดจัดเรียงข้อความตามลำดับมาแล้วเพื่อสื่อให้ผู้ฟังชมทราบ แต่จะไม่สามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ เช่น การประกาศรายงานสภาพอากาศ การประกาศรายงานสภาพการจราจร การประกาศข่าวของทางราชการ เป็นต้น ผู้ประกาศจะแสดงตัวให้ผู้ฟังผู้ชมเห็นตัวหรือไม่ก็แล้วแต่สถานการณ์หรือลักษณะงาน
พิธีกร
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายไว้ว่า ผู้ดำเนินการในพิธี, ผู้ดำเนินรายการ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Master of Ceremonies” หรือที่นิยมเรียกกันว่า “MC”
จากความหมายดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่า พิธีกรจะต้องทำหน้าที่ดำเนินการตั้งแต่เริ่มงานจนจบงาน ต้องมีความสามารถในการจัดลำดับขั้นตอนของงานได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับบรรยากาศ ลักษณะงานของพิธีกรจึงมีทั้งลักษณะที่เป็นทางการ เช่น พิธีกรในงานพระราชทานเพลิงศพ การสัมภาษณ์บุคคลสำคัญในรายการโทรทัศน์ หรือลักษณะที่ไม่เป็นทางการหรือกึ่งทางการ เช่น พิธีกรดำเนินรายการเกมโชว์ต่างๆ พิธีกรในการประกวดนางงาม พิธีกรในงานแต่งงาน เป็นต้น โดยปกติพิธีกรจะต้องพูดโดยให้ผู้ฟังดูเห็นตัวด้วย
ตามความเห็นของผู้เขียน เห็นว่า โฆษก ผู้ประกาศ และพิธีกร มีความหมายที่คล้ายคลึงกันต่างกันก็ตรงลักษณะงานที่ทำ แต่หากพิจารณาความหมายของพิธีกร แล้วดูจะกินความครอบคลุมคำว่า โฆษก และผู้ประกาศไปด้วย ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า โฆษก และผู้ประกาศ เป็นงานส่วนหนึ่งพิธีกรนั่นเอง
ดังนั้น ผู้เขียนจึงระบุในหนังสือนี้ว่า กลยุทธ์การเป็นพิธีกร ซึ่งหมายรวมการทำหน้าที่ของพิธีกรในฐานะโฆษก และผู้ประกาศด้วย
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายไว้ว่า ผู้ดำเนินการในพิธี, ผู้ดำเนินรายการ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Master of Ceremonies” หรือที่นิยมเรียกกันว่า “MC”
จากความหมายดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่า พิธีกรจะต้องทำหน้าที่ดำเนินการตั้งแต่เริ่มงานจนจบงาน ต้องมีความสามารถในการจัดลำดับขั้นตอนของงานได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับบรรยากาศ ลักษณะงานของพิธีกรจึงมีทั้งลักษณะที่เป็นทางการ เช่น พิธีกรในงานพระราชทานเพลิงศพ การสัมภาษณ์บุคคลสำคัญในรายการโทรทัศน์ หรือลักษณะที่ไม่เป็นทางการหรือกึ่งทางการ เช่น พิธีกรดำเนินรายการเกมโชว์ต่างๆ พิธีกรในการประกวดนางงาม พิธีกรในงานแต่งงาน เป็นต้น โดยปกติพิธีกรจะต้องพูดโดยให้ผู้ฟังดูเห็นตัวด้วย
ตามความเห็นของผู้เขียน เห็นว่า โฆษก ผู้ประกาศ และพิธีกร มีความหมายที่คล้ายคลึงกันต่างกันก็ตรงลักษณะงานที่ทำ แต่หากพิจารณาความหมายของพิธีกร แล้วดูจะกินความครอบคลุมคำว่า โฆษก และผู้ประกาศไปด้วย ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า โฆษก และผู้ประกาศ เป็นงานส่วนหนึ่งพิธีกรนั่นเอง
ดังนั้น ผู้เขียนจึงระบุในหนังสือนี้ว่า กลยุทธ์การเป็นพิธีกร ซึ่งหมายรวมการทำหน้าที่ของพิธีกรในฐานะโฆษก และผู้ประกาศด้วย
เทคนิคในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าสำหรับพิธีกร
วรรณภา วรรณศรี
ในการทำหน้าที่พิธีกรย่อครั้งที่ผู้เขียนต้องพบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด และต้องแก้ไขเหตุการณ์เหล่านี้ให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องทำหน้าที่พิธีกร จึงรวบรวมเทคนิคในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นแนวทางสำหรับทุกท่าน ดังนี้
เมื่อถึงเวลาแล้วประธานหรือผู้พูดยังมาไม่ถึง
หน้าที่ของพิธีกรจะต้องไม่ให้เกิดความเงียบบนเวที ถ้าเลยเวลาไม่ไม่นากนัก พิธีกรก็อาจจะพูดชี้แจงรายละเอียดต่างๆรวมทั้งอาจจะมีเรื่องราวสนุกสนานมาเล่าถ่วงเวลาไว้ก่อน(พิธีกรจึงต้องเป็นผู้มีอารมณ์ขัน) แต่ถ้านานเสียจนผู้ฟังเริ่มกระสับกระส่าย อาจจะจัดกิจกรรมให้ผู้ฟังได้เคลื่อนไหวบ้าง เช่น การปรบมือ การร้องเพลง ขณะเดียวกันต้องรีบให้ฝ่ายจัดงานเร่งแก้สถานการณ์ทันที
เมื่อเครื่องเสียงไม่เป็นใจ
เป็นเรื่องแปลกแต่จริงเครื่องเสียงโดยเฉพาะไมค์โครโฟน เวลาทดสอบก็ดูจะให้ความร่วมมือดี แต่พอถึงเวลาเอาจริงก็มักจะมีเสียงหอน...พูดแล้วเสียงขาดหาย...พูดแล้วไม่มีเสียงออกพิธีกรต้องยิ้มเข้าไว้และเมื่อทุกอย่างปกติก็อาจจะใช้ละลาการพูดช่วยคลี่คลายบรรยากาศ เช่น มีอยู่ครั้งหนึ่งผู้เขียนไปทำหน้าผู้เขียนไปทำหน้าที่พิธีกรในการอบรมสัมมนา ซึ่งมีวิทยากรพิเศษมาให้การบรรยาย พอถึงเวลาปรากฏว่าไมค์โครโฟนใช้ไม่ได้ เป็นอยู่พักใหญ่กว่าจะแก้ไขได้เมื่อทุกอย่างเรียบร้อย ผู้เขียนเลยพูดนำร่องก่อนเชิญวิทยากรขึ้นพูดว่า “แหม วันนี้พวกเรารอคอยมานานกว่าจะได้คิวจากท่านวิทยากรเพราะเรื่องราวที่ท่านจะพูดคุยกับพวกเราเป็นเรื่องที่ Hot ที่สุด ไม่นึกเลยว่าไมค์โครโฟนจะตกใจเพราะความ Hot จนสายไหม้่ก่อนที่ท่านวิทยากรจะได้พูดเสียอีก (ฮา...) ขณะนี้ไมค์โครโฟนก็ปรับตัวเรียบร้อยแล้ว ขอเรียนเชิญท่านวิทยากรในลำดับนี้ลยค่ะ
เมื่อพิธีกรอ่านข้อความผิด
“สี่เท้ารู้พลาดนักปราชญ์ยังรู้พลั้ง” เป็นความจริงเสมอ ถึงแม้ว่าท่านจะเชี่ยวชาญเพียงใดโอกาสพลาดย่อมมี และเมื่อเป็นเช่นนี้ท่านจะทำอย่างไร สิ่งที่อยากจะแนะนำก็คือท่านต้องตั้งสติให้ดี หากอ่านผิดก็ให้เอ่ยคำว่า “ขออภัยค่ะ” ไม่ใช่ “อุ๊ย ขอโทษ” หรือบางกรณีอาจต้องใช้ไหวพริบ เช่น มีอยู่คราวหนึ่งผู้เขียนเป็นพิธีกรโดยในงานมี คุณชาญศักดิ์ ชวลิตนิติธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี มาร่วมงานด้วย ผู้เขียนตั้งใจจะเอ่ยชื่อท่าน แต่ด้วยเหตุใดไม่ทราบกลับพูดว่า “...นอกจากนี้ก็มีคุณวิสิทธิ์ ชวลิตนิิติธรรม (เิิอ่ยชื่อคุณพ่อของท่านแทน)...” พอพูดออกไปแล้วจึงนึกได้ว่าพลาดไปแล้ว ก็เลยรีบแก้ไขทันทีว่า ” ...นายกสมาคมสว่างบริบูรณ์ฯซึ่งกำลังเดินทาง แต่ขณะนีุ้คุณชาญศักดิ์ ชวลิตนิติธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี ในฐานะคนของประชาชนเดินทางมาถึงก่อน”
เมื่อผู้ฟังออกอาการ...ไม่ฟัง...เบื่อ...หลับ
ในงานบางงานผู้ฟังหรือผู้ชมก็ช่างไม่ให้ความร่วมมือเสียเลย ผู้เขียนจะใช้วิธีดึงความสนใจด้วยการ ร้องเพลง เล่าเรื่องขบขัน แต่ไม่ใช่เรื่อตลกมาก ท่านต้องแยกให้ออกระหว่างเรื่องขบขันกับเรื่องตลก หรือบางทีอาจจะร้องลำตัด ร้องลิเกสอดแทรกขึ้นมา หรืออาจจะให้ผู้ฟังลุกขึ้นขยับแข้งขาด้วยการออกำลังกายดูบ้างก็ช่วยได้มาก
เมื่อต้องเป็นพิธีกรจำเป็น
อันที่จริงเราก็คุ้นเคยกับการเป็นพิธีกรกันอยู่แล้ว แต่ผู้เขียนเคยเจอสถานการณ์ ต้องเป็น “พิธีกรจำเป็น” คือในงานบางงานเราไปในฐานะผู้ร่วมงานแต่พอถึงเวลาเจ้าภาพจะเข้ามาบอกว่า “ช่วยหน่อยนะ ช่วยเป็นพิธีกรให้พี่หน่อย” ถ้าถามความรู้สึกจริงๆ ผู้เขียนก็สุดจะเซ็งกับเหตุการณ์แบบนี้ แต่วิธีแก้ไขก็ต้องยิ้มเข้าไว้ การปฏิเสธคงเป็นไปได้ยาก แล้วรีบสอดส่ายสายตาหาบุคคลที่สามซึ่งเป็นผู้ที่คุ้นเคยกับการพูดให้พูดแทนโดยอาจจะแนะนำเจ้าของงานว่า “วันนี้ตั้งใจมาแสดงความยินดีกับพี่แล้วก็จะรีบกลับ เพราะติดงาน(แล้วแต่จะอ้างให้ดูสมเหตุสมผล) จะอยู่พูดให้ได้ไม่ตลอดพี่ลองไปเชิญคุณ... ช่วยพูดดีไหมคะ นั่นไงคะนั่งอยู่ตรงนั้น” แล้วก็ทำท่าทางของท่านให้เร่งรีบเพื่อขอตัวกลับ แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริงๆก็ต้องทำใจ.....ช่วยกันหน่อยก็แล้วกัน คิดเสียว่า หากเขาไม่ไว้ใจเราเขาก็คงไม่ให้เราเป็นพิธีกร เพราะฉะนั้นก็ตั้งใจทำหน้าที่ให้ดีที่สุดก็แล้วกัน... แต่็ก็หวังว่าอย่าได้เจอเหตุการณ์แบบนี้บ่อยนักเลย
ทั้งหมดที่เล่าสู่กันฟังนี้ เป็นเพียงปัญหาเฉพาะหน้าที่พิธีกรทุกคนมักจะต้องมีโอกาสพบบ่อยที่สุด ความจริงยังมีปัญหาปลีกย่อยอีกมากมาย แต่จะไม่ขอนำมากล่าวไว้ ก็เลยตัดสินใจเลือกเฉพาะปัญหาที่ทุกท่านจะมีโอกาส พบมากที่สุดมาฝากไว้
ในการทำหน้าที่พิธีกรย่อครั้งที่ผู้เขียนต้องพบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด และต้องแก้ไขเหตุการณ์เหล่านี้ให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องทำหน้าที่พิธีกร จึงรวบรวมเทคนิคในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นแนวทางสำหรับทุกท่าน ดังนี้
เมื่อถึงเวลาแล้วประธานหรือผู้พูดยังมาไม่ถึง
หน้าที่ของพิธีกรจะต้องไม่ให้เกิดความเงียบบนเวที ถ้าเลยเวลาไม่ไม่นากนัก พิธีกรก็อาจจะพูดชี้แจงรายละเอียดต่างๆรวมทั้งอาจจะมีเรื่องราวสนุกสนานมาเล่าถ่วงเวลาไว้ก่อน(พิธีกรจึงต้องเป็นผู้มีอารมณ์ขัน) แต่ถ้านานเสียจนผู้ฟังเริ่มกระสับกระส่าย อาจจะจัดกิจกรรมให้ผู้ฟังได้เคลื่อนไหวบ้าง เช่น การปรบมือ การร้องเพลง ขณะเดียวกันต้องรีบให้ฝ่ายจัดงานเร่งแก้สถานการณ์ทันที
เมื่อเครื่องเสียงไม่เป็นใจ
เป็นเรื่องแปลกแต่จริงเครื่องเสียงโดยเฉพาะไมค์โครโฟน เวลาทดสอบก็ดูจะให้ความร่วมมือดี แต่พอถึงเวลาเอาจริงก็มักจะมีเสียงหอน...พูดแล้วเสียงขาดหาย...พูดแล้วไม่มีเสียงออกพิธีกรต้องยิ้มเข้าไว้และเมื่อทุกอย่างปกติก็อาจจะใช้ละลาการพูดช่วยคลี่คลายบรรยากาศ เช่น มีอยู่ครั้งหนึ่งผู้เขียนไปทำหน้าผู้เขียนไปทำหน้าที่พิธีกรในการอบรมสัมมนา ซึ่งมีวิทยากรพิเศษมาให้การบรรยาย พอถึงเวลาปรากฏว่าไมค์โครโฟนใช้ไม่ได้ เป็นอยู่พักใหญ่กว่าจะแก้ไขได้เมื่อทุกอย่างเรียบร้อย ผู้เขียนเลยพูดนำร่องก่อนเชิญวิทยากรขึ้นพูดว่า “แหม วันนี้พวกเรารอคอยมานานกว่าจะได้คิวจากท่านวิทยากรเพราะเรื่องราวที่ท่านจะพูดคุยกับพวกเราเป็นเรื่องที่ Hot ที่สุด ไม่นึกเลยว่าไมค์โครโฟนจะตกใจเพราะความ Hot จนสายไหม้่ก่อนที่ท่านวิทยากรจะได้พูดเสียอีก (ฮา...) ขณะนี้ไมค์โครโฟนก็ปรับตัวเรียบร้อยแล้ว ขอเรียนเชิญท่านวิทยากรในลำดับนี้ลยค่ะ
เมื่อพิธีกรอ่านข้อความผิด
“สี่เท้ารู้พลาดนักปราชญ์ยังรู้พลั้ง” เป็นความจริงเสมอ ถึงแม้ว่าท่านจะเชี่ยวชาญเพียงใดโอกาสพลาดย่อมมี และเมื่อเป็นเช่นนี้ท่านจะทำอย่างไร สิ่งที่อยากจะแนะนำก็คือท่านต้องตั้งสติให้ดี หากอ่านผิดก็ให้เอ่ยคำว่า “ขออภัยค่ะ” ไม่ใช่ “อุ๊ย ขอโทษ” หรือบางกรณีอาจต้องใช้ไหวพริบ เช่น มีอยู่คราวหนึ่งผู้เขียนเป็นพิธีกรโดยในงานมี คุณชาญศักดิ์ ชวลิตนิติธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี มาร่วมงานด้วย ผู้เขียนตั้งใจจะเอ่ยชื่อท่าน แต่ด้วยเหตุใดไม่ทราบกลับพูดว่า “...นอกจากนี้ก็มีคุณวิสิทธิ์ ชวลิตนิิติธรรม (เิิอ่ยชื่อคุณพ่อของท่านแทน)...” พอพูดออกไปแล้วจึงนึกได้ว่าพลาดไปแล้ว ก็เลยรีบแก้ไขทันทีว่า ” ...นายกสมาคมสว่างบริบูรณ์ฯซึ่งกำลังเดินทาง แต่ขณะนีุ้คุณชาญศักดิ์ ชวลิตนิติธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี ในฐานะคนของประชาชนเดินทางมาถึงก่อน”
เมื่อผู้ฟังออกอาการ...ไม่ฟัง...เบื่อ...หลับ
ในงานบางงานผู้ฟังหรือผู้ชมก็ช่างไม่ให้ความร่วมมือเสียเลย ผู้เขียนจะใช้วิธีดึงความสนใจด้วยการ ร้องเพลง เล่าเรื่องขบขัน แต่ไม่ใช่เรื่อตลกมาก ท่านต้องแยกให้ออกระหว่างเรื่องขบขันกับเรื่องตลก หรือบางทีอาจจะร้องลำตัด ร้องลิเกสอดแทรกขึ้นมา หรืออาจจะให้ผู้ฟังลุกขึ้นขยับแข้งขาด้วยการออกำลังกายดูบ้างก็ช่วยได้มาก
เมื่อต้องเป็นพิธีกรจำเป็น
อันที่จริงเราก็คุ้นเคยกับการเป็นพิธีกรกันอยู่แล้ว แต่ผู้เขียนเคยเจอสถานการณ์ ต้องเป็น “พิธีกรจำเป็น” คือในงานบางงานเราไปในฐานะผู้ร่วมงานแต่พอถึงเวลาเจ้าภาพจะเข้ามาบอกว่า “ช่วยหน่อยนะ ช่วยเป็นพิธีกรให้พี่หน่อย” ถ้าถามความรู้สึกจริงๆ ผู้เขียนก็สุดจะเซ็งกับเหตุการณ์แบบนี้ แต่วิธีแก้ไขก็ต้องยิ้มเข้าไว้ การปฏิเสธคงเป็นไปได้ยาก แล้วรีบสอดส่ายสายตาหาบุคคลที่สามซึ่งเป็นผู้ที่คุ้นเคยกับการพูดให้พูดแทนโดยอาจจะแนะนำเจ้าของงานว่า “วันนี้ตั้งใจมาแสดงความยินดีกับพี่แล้วก็จะรีบกลับ เพราะติดงาน(แล้วแต่จะอ้างให้ดูสมเหตุสมผล) จะอยู่พูดให้ได้ไม่ตลอดพี่ลองไปเชิญคุณ... ช่วยพูดดีไหมคะ นั่นไงคะนั่งอยู่ตรงนั้น” แล้วก็ทำท่าทางของท่านให้เร่งรีบเพื่อขอตัวกลับ แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริงๆก็ต้องทำใจ.....ช่วยกันหน่อยก็แล้วกัน คิดเสียว่า หากเขาไม่ไว้ใจเราเขาก็คงไม่ให้เราเป็นพิธีกร เพราะฉะนั้นก็ตั้งใจทำหน้าที่ให้ดีที่สุดก็แล้วกัน... แต่็ก็หวังว่าอย่าได้เจอเหตุการณ์แบบนี้บ่อยนักเลย
ทั้งหมดที่เล่าสู่กันฟังนี้ เป็นเพียงปัญหาเฉพาะหน้าที่พิธีกรทุกคนมักจะต้องมีโอกาสพบบ่อยที่สุด ความจริงยังมีปัญหาปลีกย่อยอีกมากมาย แต่จะไม่ขอนำมากล่าวไว้ ก็เลยตัดสินใจเลือกเฉพาะปัญหาที่ทุกท่านจะมีโอกาส พบมากที่สุดมาฝากไว้
การสร้างบุคลิกภาพของพิธีกรเพื่อให้เป็นที่ประทับใจ
วรรณภา วรรณศรี
ที่ต้องนำเรื่องขึ้นมาเขียนก่อนก็เป็นเพราะด่านแรกที่ผู้คนจะนำมาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจว่า คนแต่ละคนเป็นอย่างไร น่าเลื่อมใสศรัทธาน่าคบหาสมคมด้วยหรือไม่นั้น ก็มักจะเป็นเรื่องของบุคลิกภาพที่ได้พบเห็นกันเป็นครั้งแรก ถึงแม้จะเป็นข้อมูลที่อาจไม่ถูกต้องกับความเป็นจริงมากนักก็ตาม แต่บุคลิกภาพ ก็คือ ภาพลักษณ์ หรือภาพที่ผู้อื่นนึกคิดหรือคาดหวังว่าเราน่าจะเป็นโดยเฉพาะผู้ที่ทำหน้าที่พิธีกร ประกอบกับพิธีกรจำเป็นจะต้องปฏิบัติหน้าที่โดยปรากฏกายให้สาธารณชนได้เห็นขณะพูดด้วย ดังนั้น พิธีกรทุกคนจึงควรให้ความสนใจภาพลักษณ์ของตนเป็นอันดับแรกก่อนที่จะก้าวสู่สาระของการพูด
สมปราชญ์ อัมมะพันธ์ (ม.ป.ป. : 58) กล่าวว่า ความจริงการพูดเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพ และในขณะเดียวกันบุคลิกภาพก็เป็นหัวใจห้องสำคัญของการพูด ผู้พูดที่ดีจึงต้องปรับปรุงบุคลิกภาพให้ดีเพื่อจูงใจผู้ฟังให้เกิดความสนใจ
ด้วยเหตุนี้ พิธีกรจึงต้องใส่ใจกับการเสริมสร้าง และพัฒนาบุคลิกภาพของตนอยู่เสมอเพราะบุคลิกภาพที่ดูดีย่อมสามารถดึงดูดใจให้ผู้ฟังผู้ชมติดตามเรื่องราวหรือรายการที่พิธีกรกำลังดำเนินการได้เป็นอันดับแรก
บุคลิกภาพมิใช่เป็นเรื่องของร่างกายภายนอกเท่านั้น หากแต่หมายความถึง ทุกส่วนทุกสิ่งที่รวมตัวตนของมนุษย์ นั่นคือร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สติปัญญาของบุคคลนั้นๆ ในส่วนของบุคลิกภาพ แบ่งเป็น 4 ด้าน เพื่อสะดวกแก่การศึกษา ดังนี้
ด้านร่างกาย
ด้านร่างกาย หมายถึง รูปร่างและหน้าตา ทั้งนี้ เนื่องจากพิธีกรต้องพูดโดยให้ผู้ฟังได้เห็นหน้าตาไปพร้อมขณะที่พูด ดังนั้น รูปร่างหน้าตาจึงนับเป็นประตูแรกในการเปิดใจผู้ฟัง แต่ ไม่ได้หมายความว่า พิธีกรต้องเป็นคนสวยหรือคนหล่อ ยกเว้น พิธีกรทางรายการโทรทัศน์ หรือพิธีกรบางรายการที่เน้นด้านรูปร่างหน้าตา เช่น พิธีกรการประกวดนางงาม เป็นต้น หากเราไม่สามารถเป็นได้อย่างที่ต้องการจะเป็นก็ขอให้คนหน้าตาสะอาดสดชื่อ ยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นนิจเป็นมิตรกับทุกคน พิธีกรต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ตั้งแต่เส้นผม ผิวหนัง ผิวหนัง เล็บ ความสะอาดของร่างกายก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตระหนัก ผมสะอาดหรือไม่เป็นรังแค กลิ่นกายต้องสะอาด กลิ่นปากต้องสะอาด เล็บมือ เล็บเท้าต้องดูแลให้เรียบร้อย พยายามอย่าให้เป็นหวัดบ่อย เพราะโรคนี้เป็นอุปสรรคต่อหน้าที่ของพิธีกรเป็นอย่างยิ่ง เพราะต้องใช้เสียงเป็นปัจจัยสำคัญ พิธีกรที่พูดไปกระแอมกระไอไป หรือพูดๆ ไป เสียงขาดเป็นช่วงๆ หรือเสียงแหบแห้ง ล้วนมีผลต่อบุคลิกภาพเป็นอย่างยิ่ง
ส่วนสำคัญอีกประเด็นหนึ่ง คือ พิธีกรต้องมีอารมณ์ดี สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองให้อยู่ในสภาพมั่นคงได้ทุกสถานการณ์ หากเราควบคุมอารมณ์ของเราไม่ได้ เราจะเสียพลังแห่งศักยภาพในการควบคุมคนฟังไปทันที
วิธีการเสริมสร้างบุคลิกภาพด้านร่างกาย ที่ผู้เขียนใช้มาตลอดและได้ผลดี มีดังนี้
1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เสี่ยงการดื่มน้ำเย็นจัด ดื่มน้ำอุ่นเป็นประจำหรือไม่ก็ดื่มน้ำไม่เย็น เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ วิธีนี้จะช่วยสถนอมรักษาสุขภาพของน้ำเสียงให้มีความคงเส้นคงวาไม่แหบแห้ง 2. หมั่นออกกำลังการเป็นนิจ โดยเน้นการออกกำลังกายที่เหมาะกับวัย และความพร้อมของร่างกาย
3. นอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง โดยเฉพาะก่อนวันที่จะต้องทำหน้าที่พิธีกรรายการสำคัญๆ
4. รักษาอารมณ์ให้ดีอยู่เสมอ โดยการจัดช่วงเวลาสำหรับชีวิตแต่ละวันปล่อยพักอารมณ์ด้วยการฟังเพลงบรรเลงเบาๆ แล้วปล่อยใจสบายๆ เวลาที่จะเป็นช่วงตื่นนอนตอนเช้า ประมาณ 15 นาที และก่อนนอนประมาณ 15 นาที แล้วก็ปล่อยให้ร่างกายหลับไปในเสียงเพลง ทำเช่นนี้ เรื่อยๆ สม่ำเสมอ จะเกิดการทับทวีของการเป็นผู้มีอารมณ์ดีได้อย่างน่าประหลาดใจ
5. ศึกษาวิธีการแต่งหน้า แต่งผม เพื่อใช้ในการดึงจุดเด่น และเสริมจุดด้อยของตนเองเพราะโบราณก็บอกไว้ว่า “ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” ท่านคงเคยชมพิธีกรบางรายการ ที่มีรูปร่างอ้วนกลมแถมเตี้ย หน้าตาก็ใช้ว่าจะโดดเด่น แต่เธอก็สามารถดึงจุดเด่นของรูปร่าง และหน้าตาออกมาสู่สายตาประชาชนได้ด้วยศิลปการแต่งหน้าแต่งผม บวกกับลีลาการพูดที่ฟังสนุกสนานเป็นกันเองจนเป็นที่ยอมรับ เช่น คุณสุริวิภา กุลตังวัฒนา พิธีกรรายการสมาคมชมดาว เป็นต้น
ด้านการแต่งกาย
ด้านการแต่งกาย หมายรวมถึง เสื้อผ้า เครื่องประดับจนกระทั่งถุงน่อง รองเท้า การแต่งกายเป็นภาพลักษณ์แรกที่คนจะใช้ตัดสินว่าบุคคลผู้นั้นมาจากสังคมระดับใด มีรสนิยมแบบไหนคนบางคนเป็นคนธรรมดาๆ แต่การแต่งกายของเขาทำให้เขาดูมีสง่าราศีขึ้นมาสร้างความน่าเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น แต่บางคนเป็นผู้มีทั้งการศึกษาและอยู่ในแวดวงระดับสังคมชั้นสูง แต่การแต่งเนื้อแต่งตัวกลับไม่ส่งเสริมคุณค่าเหล่านั้นเลย หรือบางคนก็ประดับตกแต่งเสียจนหาจุดเด่น ไม่ได้ดูเปื้อนเปรอะเลอะเทอะไปหมด เราควรจะแต่งกายอย่างไรที่เป็นการเสริมบุคลิกภาพในฐานะที่เป็นพิธีกร ขอแนะนำว่ายึดหลักความพอดี อาจมีคำถามต่ออีกหว่าแล้วอย่างไรจึงจะเรียกว่า พอดี ขอให้ท่านวางแผนว่าลักษณะงาน ลักษณะสถานที่ และรูปแบบของการจัดงานที่จะต้องไฟพูดเป็นแบบไร เช่น เป็นพิธีกรงานแต่งงานก็ควรจะคาดคะเนให้ได้ว่า เจ้าบ่าวเจ้าสาวแต่งตัวแบบไหน พิธีกรก็ไม่ควรแต่งล้ำหน้าคู่บ่าวสาวไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือสีสันของเสื้อผ้า ถ้าเป็นงานที่เป็นทางการสุภาพสตรีก็ควรจะสวมกระโปรงเป็นหลักไว้ก่อน เพราะกระโปรงสามารถไปในงานเป็นทางการและไม่เป็นทางการก็ได้ เหล่านี้เป็นต้น
การดูแลตนเองด้านการแต่งกายสำหรับพิธีกร ขอแนะนำเป็นแนวทางไว้ ดังนี้
1. หมันสังเกตการณ์แต่งกายของผู้คนรอบข้างในงานสังคมต่างๆ รวมทั้งสังเกตการณ์แต่งกายของพิธีกรตามรายการต่างๆ ทางโทรทัศน์ แล้วนำประยุกต์ใช้กับตัวเรา โดยยึดหลักความเหมาะสมกับตนเองทั้งด้านวัย และสถานการณ์ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงควรคำนึงถึงหลักประหยัดไว้ได้ก็จะเป็นการดี
2. ศึกษาหาความรู้ด้านการแต่งกายจากหนังสือแม็กกาซีนต่างๆ
3. ควรจัดหาเครื่องแต่งกายที่สามารถประยุกต์ปรับแต่งให้สามารถใช้ได้กับงานหลายๆ ลักษณะ เพราะจะช่วยให้สิ้นเปลืองน้อยลง โดยเฉพาะพิธีกรที่ไม่มีผู้สนับสนุนเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายหมายความว่ามักถูกเชิญไปพูดหรือได้รับมอบหมายให้พูดทุกอย่างต้องจัดหาเอง เสื้อผ้าจึงต้องพยายามเป็นแบบอเนกประสงค์ สีควรเป็นแบบเรียบ ๆ สีออกดำ หรือน้ำเงินจะช่วยให้ปรับเข้ากับเสื้อผ้าสีอื่นๆ ได้ง่าย รองเท้าก็ควรเป็นแบบหุ้มส้นสีออกดำ หรือน้ำตาลเข้มจะดีที่สุดเพราะจะเข้าได้กับเสื้อผ้าทุกสี
4. พิธีการไม่ควรประดับเครื่องประดับมากมายเต็มเนื้อเต็มตัว เพราะจะทำให้จุดสนใจของผู้ฟังหรือผู้ชมไปอยู่ที่เครื่องประดับมากกว่าสาระและลีลาการพูด ตรงนี้จะเป็นการฉุดดึงบุคลิกภาพและความสำเร็จของการพูดไปอย่างน่าเสียดาย
พฤติกรรมที่แสดงออก
พฤติกรรมที่แสดงออก หมายถึง พฤติกรรมต่างๆ ที่ประมวลจากพฤติกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับผู้ทำหน้าที่พิธีกร ซึ่งขอแยกออกเป็น 3 ประการใหญ่ๆ ดังนี้
1. การใช้กิริยาท่าทาง ซึ่งรวมการยืน การเดิน การนั่ง การทรงตัว การใช้สีหน้า การใช้สายตา การใช้ท่าทางประกอบการพูด พิธีกรต้องตระหนักเสมอว่า พิธีกรคือจุดเด่นของงานเพราะฉะนั้นทุกสายตาจะจ้องมาที่ตัวท่าน การเคลื่อนไหวของท่านทุกๆ อิริยาบถจะมีผลต่อความสำเร็จในการพูดของท่าน
2. การใช้ภา การพูดจาชัดถ้อยชัดคำถูกต้องตามอักขรวิธี เหมาะกับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรนั้น จะช่วยเสริมสร้างการพูดของท่านได้อย่างดีถึงแม้ว่าท่านอาจจะไม่ใช่ผู้มีรูปร่างหน้าตาสวยหล่อจนสะดุดตา
3. การใช้น้ำเสียง เรื่องของนี้เสียงดูจะเป็นสิ่งที่อิทธิพลสูงต่อความสำเร็จของพิธีกร เพราะพิธีกรมิใช่เป็นเพียงผู้ทำหน้าที่อ่าน หรือประกาศเท่านั้น การรู้จักใช้น้ำเสียงเหมาะกับจังหวะการพูด สอดคล้องกับเรื่องราวที่พูดจะช่วยผลักดันอารมณ์ของผู้ชมให้คล้อยตามได้อย่างดี และจะทำให้พิธีกรสามารถควบคุมบรรยากาศของงานได้โดยสิ้นเชิง
ในส่วนของพฤติกรรมที่แสดงออกนั้น จะขอแนะนำไว้ในที่นี้ โดยสังเขปว่า พิธีกรต้องหมั่นสังเกตตนเองอยู่ตลอดเวลาเพื่อพัฒนาปรับพฤติกรรมของตนเองให้ดียิ่งขึ้น สำหรับรายละเอียดจะกล่าวถึงในบทต่อๆ ไป แต่จะขอฝากข้อคิดตามข้อเขียนของ วิจิตร อาวะกุล (2545) ว่า
บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงได้ พัฒนาได้ สร้างเสริมได้ แก้ไขปรับปรุงได้ เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณสมบัติและคุณภาพของบุคคลให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไปได้ รวมทั้งให้มีความสามารถเหมาะสมกับสถานะตำแหน่งหน้าที่การงานและวิชาชีพได้ โดยใช้เทคนิค หลักการ วิธีการ ความรู้ในการพัฒนาบุคลิกภาพไปพัฒนาตนเอง เพื่อที่จะได้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ....
....และการที่จะสร้างให้เป็นคนมีบุคลิกภาพดีทันทีทันใดนั้น ก็ทำได้ยาก ผู้ที่มีบุคลิกดีจึงต้องศึกษาเรียนรู้หลักเกณฑ์ วิธีการ ฝึกฝนพัฒนาในชีวิตตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดบุคลิกภาพที่ดีขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจนเกิดเป็นพฤติกรรมที่ถาวรตลอดไป
ที่ต้องนำเรื่องขึ้นมาเขียนก่อนก็เป็นเพราะด่านแรกที่ผู้คนจะนำมาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจว่า คนแต่ละคนเป็นอย่างไร น่าเลื่อมใสศรัทธาน่าคบหาสมคมด้วยหรือไม่นั้น ก็มักจะเป็นเรื่องของบุคลิกภาพที่ได้พบเห็นกันเป็นครั้งแรก ถึงแม้จะเป็นข้อมูลที่อาจไม่ถูกต้องกับความเป็นจริงมากนักก็ตาม แต่บุคลิกภาพ ก็คือ ภาพลักษณ์ หรือภาพที่ผู้อื่นนึกคิดหรือคาดหวังว่าเราน่าจะเป็นโดยเฉพาะผู้ที่ทำหน้าที่พิธีกร ประกอบกับพิธีกรจำเป็นจะต้องปฏิบัติหน้าที่โดยปรากฏกายให้สาธารณชนได้เห็นขณะพูดด้วย ดังนั้น พิธีกรทุกคนจึงควรให้ความสนใจภาพลักษณ์ของตนเป็นอันดับแรกก่อนที่จะก้าวสู่สาระของการพูด
สมปราชญ์ อัมมะพันธ์ (ม.ป.ป. : 58) กล่าวว่า ความจริงการพูดเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพ และในขณะเดียวกันบุคลิกภาพก็เป็นหัวใจห้องสำคัญของการพูด ผู้พูดที่ดีจึงต้องปรับปรุงบุคลิกภาพให้ดีเพื่อจูงใจผู้ฟังให้เกิดความสนใจ
ด้วยเหตุนี้ พิธีกรจึงต้องใส่ใจกับการเสริมสร้าง และพัฒนาบุคลิกภาพของตนอยู่เสมอเพราะบุคลิกภาพที่ดูดีย่อมสามารถดึงดูดใจให้ผู้ฟังผู้ชมติดตามเรื่องราวหรือรายการที่พิธีกรกำลังดำเนินการได้เป็นอันดับแรก
บุคลิกภาพมิใช่เป็นเรื่องของร่างกายภายนอกเท่านั้น หากแต่หมายความถึง ทุกส่วนทุกสิ่งที่รวมตัวตนของมนุษย์ นั่นคือร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สติปัญญาของบุคคลนั้นๆ ในส่วนของบุคลิกภาพ แบ่งเป็น 4 ด้าน เพื่อสะดวกแก่การศึกษา ดังนี้
ด้านร่างกาย
ด้านร่างกาย หมายถึง รูปร่างและหน้าตา ทั้งนี้ เนื่องจากพิธีกรต้องพูดโดยให้ผู้ฟังได้เห็นหน้าตาไปพร้อมขณะที่พูด ดังนั้น รูปร่างหน้าตาจึงนับเป็นประตูแรกในการเปิดใจผู้ฟัง แต่ ไม่ได้หมายความว่า พิธีกรต้องเป็นคนสวยหรือคนหล่อ ยกเว้น พิธีกรทางรายการโทรทัศน์ หรือพิธีกรบางรายการที่เน้นด้านรูปร่างหน้าตา เช่น พิธีกรการประกวดนางงาม เป็นต้น หากเราไม่สามารถเป็นได้อย่างที่ต้องการจะเป็นก็ขอให้คนหน้าตาสะอาดสดชื่อ ยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นนิจเป็นมิตรกับทุกคน พิธีกรต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ตั้งแต่เส้นผม ผิวหนัง ผิวหนัง เล็บ ความสะอาดของร่างกายก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตระหนัก ผมสะอาดหรือไม่เป็นรังแค กลิ่นกายต้องสะอาด กลิ่นปากต้องสะอาด เล็บมือ เล็บเท้าต้องดูแลให้เรียบร้อย พยายามอย่าให้เป็นหวัดบ่อย เพราะโรคนี้เป็นอุปสรรคต่อหน้าที่ของพิธีกรเป็นอย่างยิ่ง เพราะต้องใช้เสียงเป็นปัจจัยสำคัญ พิธีกรที่พูดไปกระแอมกระไอไป หรือพูดๆ ไป เสียงขาดเป็นช่วงๆ หรือเสียงแหบแห้ง ล้วนมีผลต่อบุคลิกภาพเป็นอย่างยิ่ง
ส่วนสำคัญอีกประเด็นหนึ่ง คือ พิธีกรต้องมีอารมณ์ดี สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองให้อยู่ในสภาพมั่นคงได้ทุกสถานการณ์ หากเราควบคุมอารมณ์ของเราไม่ได้ เราจะเสียพลังแห่งศักยภาพในการควบคุมคนฟังไปทันที
วิธีการเสริมสร้างบุคลิกภาพด้านร่างกาย ที่ผู้เขียนใช้มาตลอดและได้ผลดี มีดังนี้
1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เสี่ยงการดื่มน้ำเย็นจัด ดื่มน้ำอุ่นเป็นประจำหรือไม่ก็ดื่มน้ำไม่เย็น เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ วิธีนี้จะช่วยสถนอมรักษาสุขภาพของน้ำเสียงให้มีความคงเส้นคงวาไม่แหบแห้ง 2. หมั่นออกกำลังการเป็นนิจ โดยเน้นการออกกำลังกายที่เหมาะกับวัย และความพร้อมของร่างกาย
3. นอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง โดยเฉพาะก่อนวันที่จะต้องทำหน้าที่พิธีกรรายการสำคัญๆ
4. รักษาอารมณ์ให้ดีอยู่เสมอ โดยการจัดช่วงเวลาสำหรับชีวิตแต่ละวันปล่อยพักอารมณ์ด้วยการฟังเพลงบรรเลงเบาๆ แล้วปล่อยใจสบายๆ เวลาที่จะเป็นช่วงตื่นนอนตอนเช้า ประมาณ 15 นาที และก่อนนอนประมาณ 15 นาที แล้วก็ปล่อยให้ร่างกายหลับไปในเสียงเพลง ทำเช่นนี้ เรื่อยๆ สม่ำเสมอ จะเกิดการทับทวีของการเป็นผู้มีอารมณ์ดีได้อย่างน่าประหลาดใจ
5. ศึกษาวิธีการแต่งหน้า แต่งผม เพื่อใช้ในการดึงจุดเด่น และเสริมจุดด้อยของตนเองเพราะโบราณก็บอกไว้ว่า “ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” ท่านคงเคยชมพิธีกรบางรายการ ที่มีรูปร่างอ้วนกลมแถมเตี้ย หน้าตาก็ใช้ว่าจะโดดเด่น แต่เธอก็สามารถดึงจุดเด่นของรูปร่าง และหน้าตาออกมาสู่สายตาประชาชนได้ด้วยศิลปการแต่งหน้าแต่งผม บวกกับลีลาการพูดที่ฟังสนุกสนานเป็นกันเองจนเป็นที่ยอมรับ เช่น คุณสุริวิภา กุลตังวัฒนา พิธีกรรายการสมาคมชมดาว เป็นต้น
ด้านการแต่งกาย
ด้านการแต่งกาย หมายรวมถึง เสื้อผ้า เครื่องประดับจนกระทั่งถุงน่อง รองเท้า การแต่งกายเป็นภาพลักษณ์แรกที่คนจะใช้ตัดสินว่าบุคคลผู้นั้นมาจากสังคมระดับใด มีรสนิยมแบบไหนคนบางคนเป็นคนธรรมดาๆ แต่การแต่งกายของเขาทำให้เขาดูมีสง่าราศีขึ้นมาสร้างความน่าเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น แต่บางคนเป็นผู้มีทั้งการศึกษาและอยู่ในแวดวงระดับสังคมชั้นสูง แต่การแต่งเนื้อแต่งตัวกลับไม่ส่งเสริมคุณค่าเหล่านั้นเลย หรือบางคนก็ประดับตกแต่งเสียจนหาจุดเด่น ไม่ได้ดูเปื้อนเปรอะเลอะเทอะไปหมด เราควรจะแต่งกายอย่างไรที่เป็นการเสริมบุคลิกภาพในฐานะที่เป็นพิธีกร ขอแนะนำว่ายึดหลักความพอดี อาจมีคำถามต่ออีกหว่าแล้วอย่างไรจึงจะเรียกว่า พอดี ขอให้ท่านวางแผนว่าลักษณะงาน ลักษณะสถานที่ และรูปแบบของการจัดงานที่จะต้องไฟพูดเป็นแบบไร เช่น เป็นพิธีกรงานแต่งงานก็ควรจะคาดคะเนให้ได้ว่า เจ้าบ่าวเจ้าสาวแต่งตัวแบบไหน พิธีกรก็ไม่ควรแต่งล้ำหน้าคู่บ่าวสาวไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือสีสันของเสื้อผ้า ถ้าเป็นงานที่เป็นทางการสุภาพสตรีก็ควรจะสวมกระโปรงเป็นหลักไว้ก่อน เพราะกระโปรงสามารถไปในงานเป็นทางการและไม่เป็นทางการก็ได้ เหล่านี้เป็นต้น
การดูแลตนเองด้านการแต่งกายสำหรับพิธีกร ขอแนะนำเป็นแนวทางไว้ ดังนี้
1. หมันสังเกตการณ์แต่งกายของผู้คนรอบข้างในงานสังคมต่างๆ รวมทั้งสังเกตการณ์แต่งกายของพิธีกรตามรายการต่างๆ ทางโทรทัศน์ แล้วนำประยุกต์ใช้กับตัวเรา โดยยึดหลักความเหมาะสมกับตนเองทั้งด้านวัย และสถานการณ์ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงควรคำนึงถึงหลักประหยัดไว้ได้ก็จะเป็นการดี
2. ศึกษาหาความรู้ด้านการแต่งกายจากหนังสือแม็กกาซีนต่างๆ
3. ควรจัดหาเครื่องแต่งกายที่สามารถประยุกต์ปรับแต่งให้สามารถใช้ได้กับงานหลายๆ ลักษณะ เพราะจะช่วยให้สิ้นเปลืองน้อยลง โดยเฉพาะพิธีกรที่ไม่มีผู้สนับสนุนเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายหมายความว่ามักถูกเชิญไปพูดหรือได้รับมอบหมายให้พูดทุกอย่างต้องจัดหาเอง เสื้อผ้าจึงต้องพยายามเป็นแบบอเนกประสงค์ สีควรเป็นแบบเรียบ ๆ สีออกดำ หรือน้ำเงินจะช่วยให้ปรับเข้ากับเสื้อผ้าสีอื่นๆ ได้ง่าย รองเท้าก็ควรเป็นแบบหุ้มส้นสีออกดำ หรือน้ำตาลเข้มจะดีที่สุดเพราะจะเข้าได้กับเสื้อผ้าทุกสี
4. พิธีการไม่ควรประดับเครื่องประดับมากมายเต็มเนื้อเต็มตัว เพราะจะทำให้จุดสนใจของผู้ฟังหรือผู้ชมไปอยู่ที่เครื่องประดับมากกว่าสาระและลีลาการพูด ตรงนี้จะเป็นการฉุดดึงบุคลิกภาพและความสำเร็จของการพูดไปอย่างน่าเสียดาย
พฤติกรรมที่แสดงออก
พฤติกรรมที่แสดงออก หมายถึง พฤติกรรมต่างๆ ที่ประมวลจากพฤติกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับผู้ทำหน้าที่พิธีกร ซึ่งขอแยกออกเป็น 3 ประการใหญ่ๆ ดังนี้
1. การใช้กิริยาท่าทาง ซึ่งรวมการยืน การเดิน การนั่ง การทรงตัว การใช้สีหน้า การใช้สายตา การใช้ท่าทางประกอบการพูด พิธีกรต้องตระหนักเสมอว่า พิธีกรคือจุดเด่นของงานเพราะฉะนั้นทุกสายตาจะจ้องมาที่ตัวท่าน การเคลื่อนไหวของท่านทุกๆ อิริยาบถจะมีผลต่อความสำเร็จในการพูดของท่าน
2. การใช้ภา การพูดจาชัดถ้อยชัดคำถูกต้องตามอักขรวิธี เหมาะกับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรนั้น จะช่วยเสริมสร้างการพูดของท่านได้อย่างดีถึงแม้ว่าท่านอาจจะไม่ใช่ผู้มีรูปร่างหน้าตาสวยหล่อจนสะดุดตา
3. การใช้น้ำเสียง เรื่องของนี้เสียงดูจะเป็นสิ่งที่อิทธิพลสูงต่อความสำเร็จของพิธีกร เพราะพิธีกรมิใช่เป็นเพียงผู้ทำหน้าที่อ่าน หรือประกาศเท่านั้น การรู้จักใช้น้ำเสียงเหมาะกับจังหวะการพูด สอดคล้องกับเรื่องราวที่พูดจะช่วยผลักดันอารมณ์ของผู้ชมให้คล้อยตามได้อย่างดี และจะทำให้พิธีกรสามารถควบคุมบรรยากาศของงานได้โดยสิ้นเชิง
ในส่วนของพฤติกรรมที่แสดงออกนั้น จะขอแนะนำไว้ในที่นี้ โดยสังเขปว่า พิธีกรต้องหมั่นสังเกตตนเองอยู่ตลอดเวลาเพื่อพัฒนาปรับพฤติกรรมของตนเองให้ดียิ่งขึ้น สำหรับรายละเอียดจะกล่าวถึงในบทต่อๆ ไป แต่จะขอฝากข้อคิดตามข้อเขียนของ วิจิตร อาวะกุล (2545) ว่า
บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงได้ พัฒนาได้ สร้างเสริมได้ แก้ไขปรับปรุงได้ เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณสมบัติและคุณภาพของบุคคลให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไปได้ รวมทั้งให้มีความสามารถเหมาะสมกับสถานะตำแหน่งหน้าที่การงานและวิชาชีพได้ โดยใช้เทคนิค หลักการ วิธีการ ความรู้ในการพัฒนาบุคลิกภาพไปพัฒนาตนเอง เพื่อที่จะได้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ....
....และการที่จะสร้างให้เป็นคนมีบุคลิกภาพดีทันทีทันใดนั้น ก็ทำได้ยาก ผู้ที่มีบุคลิกดีจึงต้องศึกษาเรียนรู้หลักเกณฑ์ วิธีการ ฝึกฝนพัฒนาในชีวิตตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดบุคลิกภาพที่ดีขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจนเกิดเป็นพฤติกรรมที่ถาวรตลอดไป
เทคนิคการใช้ภาษา
วรรณภา วรรณศรี
ความจริงเรื่องการใช้ภาษาเป็นสิ่งสำคัญที่ถูกกำหนดโดยหลักเกณฑ์และระเบียบวิธีใช้อยู่แล้วตามลักษณะของการใช้ แต่เราจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงวิธี ซึ่งจะทำให้เราสามารถใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมทั้งกับบุคคล สถานที่ และเวลาโดยเฉพาะผู้ทำหน้าที่พิธีกร ทั้งนี้ โดยหมายรวมทั้งภาษาพูดและภาษาท่าทาง
ภาษาที่จะต้องใช้จะแบ่งออกเป็นดังนี้
1) คำราชาศัพท์
2) ภาษาทางราชการ
3) ตัวย่อต่างๆ
4) ชื่อเฉพาะ
5) ศัพท์เทคนิคเฉพาะทาง
6) ภาษาแสลงต่างๆ
ในที่นี้จะไม่อธิบายละเอียดว่า ภาษาประเภทที่กล่าวถึงแต่ละอย่างน้อยจะมีวิธีใช้อย่างไร แต่จะขอนำเสนอวิธีกรที่จะส่งเสริมให้ท่านในฐานะพิธีกรได้พัฒนาการใช้ภาษาไ้ด้อย่างถูกต้อง สิ่งหนึ่งท่านจะต้องคำนึงเสมอก็คือผู้ฟังหรือผู้ชมมักจะคาดหวังว่าท่านคือผู้รอบรู้ในการพูดแบะเป็นแม่แบบของการพูดมิฉะนั้นท่านคงจะไม่ได้รับมอบหมายให้เป็นพิธีกร แล้วท่านควรจะสร้างภาพลักษณ์ของตนเองในการใช้ภาษาอย่างไร
สำหรับผู้เขียนแล้วจะใช้วิธีการดังนี้
1) จะต้องมีพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับปัจจุบันที่สุด และพจนานุกรมภาษาอังกฤษ (Dictionary) ประจำโต๊ะทำงานและที่บ้านเพื่อพร้อมที่จะค้นคว้าเมื่อมีปัญหาด้านการอ่าน การเขียน หรือความหมายของคำ
2) จะต้องมีหนังสือเกี่ยวกับการใช้ราชาศัพท์ การอ่านคำย่อ การอ่านชื่อเฉพาะต่างๆไว้ประกอบการค้นคว้า
3) ผู้เขียนจะมีแฟ้มส่วนตัวเืพื่อรวบรวมสาระสำคัญต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพูดไว้ชื่อว่า แฟ้มล้วนสาระ ในแฟ้มจะเก็บรายละเอียดหลากหลายที่เห็นว่ามีคุณค่า เช่น การจัดขบวนเครื่องสูงสมัยโบราณ ประวัติกีฬาแหลมทอง Script การจัดงานต่างๆทั้งนี้เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นคลังข้อมูลในการใช้ภาษาได้เป็นอย่างดี
4) ต้องเป็นคนทันสมัยเสมอนั่นคือต้องรู้ความเคลื่อนไหวของโลก ของสังคมว่าขณะนี้มีอะไรเกิดขึ้น เมื่อโลกเปลี่ยนไปวิวัฒนาการของภาษาก็จะเปลี่ยนตามไปด้วย เช่น ภาษาของวัยรุ่นก็จะมีศัพท์แปลกเพิ่มมากขึ้นเมื่อไปพูดกับคนกลุ่มใดจะได้หยิบมาใช้เป็นสีสันในการพูดได้บ้าง
ข้อแนะนำในการใช้ภาษา
1) เวลาพูดหากมีคำราชาศัพท์ เช่น โปรดเกล้าฯ ต้องอ่านว่า โปรดเกล้ากระหม่อม เป็นต้น 2) หากเป็นคำย่อต้องพูดเป็นคำเต็ม เช่น น.ส.วรรณภา วรรณศรี ต้องพูดว่า
1) คำราชาศัพท์
2) ภาษาทางราชการ
3) ตัวย่อต่างๆ
4) ชื่อเฉพาะ
5) ศัพท์เทคนิคเฉพาะทาง
6) ภาษาแสลงต่างๆ
ในที่นี้จะไม่อธิบายละเอียดว่า ภาษาประเภทที่กล่าวถึงแต่ละอย่างน้อยจะมีวิธีใช้อย่างไร แต่จะขอนำเสนอวิธีกรที่จะส่งเสริมให้ท่านในฐานะพิธีกรได้พัฒนาการใช้ภาษาไ้ด้อย่างถูกต้อง สิ่งหนึ่งท่านจะต้องคำนึงเสมอก็คือผู้ฟังหรือผู้ชมมักจะคาดหวังว่าท่านคือผู้รอบรู้ในการพูดแบะเป็นแม่แบบของการพูดมิฉะนั้นท่านคงจะไม่ได้รับมอบหมายให้เป็นพิธีกร แล้วท่านควรจะสร้างภาพลักษณ์ของตนเองในการใช้ภาษาอย่างไร
สำหรับผู้เขียนแล้วจะใช้วิธีการดังนี้
1) จะต้องมีพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับปัจจุบันที่สุด และพจนานุกรมภาษาอังกฤษ (Dictionary) ประจำโต๊ะทำงานและที่บ้านเพื่อพร้อมที่จะค้นคว้าเมื่อมีปัญหาด้านการอ่าน การเขียน หรือความหมายของคำ
2) จะต้องมีหนังสือเกี่ยวกับการใช้ราชาศัพท์ การอ่านคำย่อ การอ่านชื่อเฉพาะต่างๆไว้ประกอบการค้นคว้า
3) ผู้เขียนจะมีแฟ้มส่วนตัวเืพื่อรวบรวมสาระสำคัญต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพูดไว้ชื่อว่า แฟ้มล้วนสาระ ในแฟ้มจะเก็บรายละเอียดหลากหลายที่เห็นว่ามีคุณค่า เช่น การจัดขบวนเครื่องสูงสมัยโบราณ ประวัติกีฬาแหลมทอง Script การจัดงานต่างๆทั้งนี้เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นคลังข้อมูลในการใช้ภาษาได้เป็นอย่างดี
4) ต้องเป็นคนทันสมัยเสมอนั่นคือต้องรู้ความเคลื่อนไหวของโลก ของสังคมว่าขณะนี้มีอะไรเกิดขึ้น เมื่อโลกเปลี่ยนไปวิวัฒนาการของภาษาก็จะเปลี่ยนตามไปด้วย เช่น ภาษาของวัยรุ่นก็จะมีศัพท์แปลกเพิ่มมากขึ้นเมื่อไปพูดกับคนกลุ่มใดจะได้หยิบมาใช้เป็นสีสันในการพูดได้บ้าง
ข้อแนะนำในการใช้ภาษา
1) เวลาพูดหากมีคำราชาศัพท์ เช่น โปรดเกล้าฯ ต้องอ่านว่า โปรดเกล้ากระหม่อม เป็นต้น 2) หากเป็นคำย่อต้องพูดเป็นคำเต็ม เช่น น.ส.วรรณภา วรรณศรี ต้องพูดว่า
นางสาว...................ส.ส.ต้องพูดว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น
3) หากเป็นชื่อเฉพาะต้องอ่านตามที่เจ้าของชื่อระบุ เช่น นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย หากพิจารณาตามหลักภาษาไทย คำว่า “สุรเกียรติ์” มีตัวการันต์ บังคับอยู่บน”ติ” แสดงว่าไม่ต้องออกเสียง โดยมี “ติ” สะกด ซึ่งน่าจะอ่านว่า “สุ-ระ-เกียน” แต่เป็นชื่อเฉพาะเจ้าของชื่อต้องการให้อ่านว่า ”สุ-ระ-เกียด” เราก็ต้องอ่านตามชื่อเฉพาะเหล่านี้ เป็นต้น
4) การพูดโดยใช้คำภาษาต่างประเทศปะปนไปกับภาษาไ่ทย ผู้เขียนเห็นว่าก็ไม่เป็นข้อห้ามตายตัวว่าไม่สมควรพูด แต่ทั้งนี้ต้องขึ้้นกับความเหมาะสมกับผู้ฟังและสถานการณ์เป็นหลัก
5) การพูดที่มีเสน่ห์อาจจะต้องสอดแทรกด้วยคำคม สุภาษิตคำพังเพย พิธีกรควรจะรวบรวมสิ่งเหล่านี้ไว้และหากจะยกมาเปรียบเปรยก็ควรจะใช้วิธีท่องให้จำดีกว่ายกขึ้นมาอ่าน หรือถ้าจะอ่านก็ต้องอย่าก้มอ่่านจนกระทั่งผู้ฟังจับได้
6) ฟังการอ่านข่าว หรือการบรรยายในงานพระราชพิธี หรืองานพิธีที่สำคัญเสมอเพื่อให้ได้แบบอย่างของการพูด
สำหรับในส่วนของภาษาท่าทางนั้น ผู้ทำหน้าที่พิธีกรทุกคนคงจะรู้หลักกันมาบ้างแล้วจึงไม่ขอนำมาขยายความ ณ ที่นี้ เพียงแต่ขอสรุปไว้ว่าการใช้ภาษานั้นเป็นเรื่องลึกซึ้ง แต่ไม่ยุ่งยากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ หมั่นสังเกต หมั่นฝึกฝน หมั่นประเมินการพูดของตนเอง และศึกษาจากผู้ที่มีแบบอย่างการพูดที่ดีอยู่เสมอ นี่คือ ทางมาซึ่งเทคนิคการใช้ภาษา
3) หากเป็นชื่อเฉพาะต้องอ่านตามที่เจ้าของชื่อระบุ เช่น นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย หากพิจารณาตามหลักภาษาไทย คำว่า “สุรเกียรติ์” มีตัวการันต์ บังคับอยู่บน”ติ” แสดงว่าไม่ต้องออกเสียง โดยมี “ติ” สะกด ซึ่งน่าจะอ่านว่า “สุ-ระ-เกียน” แต่เป็นชื่อเฉพาะเจ้าของชื่อต้องการให้อ่านว่า ”สุ-ระ-เกียด” เราก็ต้องอ่านตามชื่อเฉพาะเหล่านี้ เป็นต้น
4) การพูดโดยใช้คำภาษาต่างประเทศปะปนไปกับภาษาไ่ทย ผู้เขียนเห็นว่าก็ไม่เป็นข้อห้ามตายตัวว่าไม่สมควรพูด แต่ทั้งนี้ต้องขึ้้นกับความเหมาะสมกับผู้ฟังและสถานการณ์เป็นหลัก
5) การพูดที่มีเสน่ห์อาจจะต้องสอดแทรกด้วยคำคม สุภาษิตคำพังเพย พิธีกรควรจะรวบรวมสิ่งเหล่านี้ไว้และหากจะยกมาเปรียบเปรยก็ควรจะใช้วิธีท่องให้จำดีกว่ายกขึ้นมาอ่าน หรือถ้าจะอ่านก็ต้องอย่าก้มอ่่านจนกระทั่งผู้ฟังจับได้
6) ฟังการอ่านข่าว หรือการบรรยายในงานพระราชพิธี หรืองานพิธีที่สำคัญเสมอเพื่อให้ได้แบบอย่างของการพูด
สำหรับในส่วนของภาษาท่าทางนั้น ผู้ทำหน้าที่พิธีกรทุกคนคงจะรู้หลักกันมาบ้างแล้วจึงไม่ขอนำมาขยายความ ณ ที่นี้ เพียงแต่ขอสรุปไว้ว่าการใช้ภาษานั้นเป็นเรื่องลึกซึ้ง แต่ไม่ยุ่งยากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ หมั่นสังเกต หมั่นฝึกฝน หมั่นประเมินการพูดของตนเอง และศึกษาจากผู้ที่มีแบบอย่างการพูดที่ดีอยู่เสมอ นี่คือ ทางมาซึ่งเทคนิคการใช้ภาษา
การทำหน้าที่พิธีกรในงานประเภทต่างๆ
วรรณภา วรรณศรี
โดยทั่วไปงานสังคมที่เราพบเห็นจะมีอยู่ 3 ประเภท คือ งานแบบเป็นพิธีการ งานแบบไม่เป็นพิธีการ และงานกึ่งพิธีการ ลักษณะของงานถูกจำแนกเป็นประเภทตามบรรยากาศและรูปแบบของงาน พิธีกรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ และแยกแยะได้ เพราะงานบางงานอาจจะมีลักษณะบรรยากาศผสมกลมกลืนกันทั้ง 3 ประเภท ในขณะที่บางงานจะมีบรรยากาศ และรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ชัดเจน การทำหน้าที่ของพิธีการในแต่ละบรรยากาศของงานจึงต้องแตกต่างกันออกไป
งานแบบพิธีการ
งานลักษณะนี้มักจะมีลำดับขั้นตอนของการดำเนินรายการอย่างเป็นรูปแบบที่เคร่งครัดทั้งในด้านเวลา คำพูดที่จะใช้ และขั้นตอนรายการ เช่น งานพระราชพิธีต่างๆ งานมอบประกาศเกียรติคุณ งานเปิดการฝึกอบรมหรือการประชุมที่เป็นทางการ ได้แก่ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น
ข้อแนะนำสำหรับพิธีกร
1) พิธีกรต้องมีความแม่นำในขั้นตอนการดำเนินรายการ เพราะงานแบบพิธีการจะผิดเพี้ยนไปไม่ได้เลย งานพิธีการจะมีกรอบโครงสร้างตายตัว ก่อนทำหน้าที่ควรศึกษาขั้นตอนว่า ใครจะต้องทำอะไร เมื่อไร และที่ไหน 2) ต้องทราบรายละเอียดของบุคคลที่จะต้องเอ่ยถึงในงานว่า ใครคือคนสำคัญที่สุดในงาน ใครเป็นประธานของงาน การเอ่ยชื่อ –สกุล ยศ ตำแหน่งต้องถูกต้อง
3) ควรไปถึงงานก่อนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบความพร้อมของงาน และประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องให้ชัดเจนอีกครั้ง และเพื่อกันความผิดพลาด
4) การแต่งกายของพิธีกรจะต้องเรียบร้อยถูกต้องกับลักษณะงาน เช่น การแต่งชุดข้าราชการเต็มยศหรือครึ่งยศ หรือชุดปกติกากีคอพับ หากเป็นงานราตรีก็ควรจะแต่งกายให้ดูดีเหมาะสมเหล่านี้เป็นต้น
5 )พิธีกรควรจัดทำ Script การดำเนินรายการให้ชัดเจน คำว่า Script มิได้หมายถึง กำหนดการจัดงาน แต่หมายถึงบทโดยละเอียดที่พิธีกรจะต้องทำรายละเอียดเพิ่มเติมโดยประสารกับผู้เกี่ยวข้อง หากมีฝ่ายจัดทำให้แล้ว พิธีกรจะต้องศึกษาให้แม่นยำอีกครั้ง
เพื่อให้ชัดเจนขึ้นจะขอยกตัวอย่างประกอบดังนี้
กำหนดการพิธีถวายเครื่องราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ณ ลานหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมืองพัทยา
วันที่ 28 ธันวาคม 2546
08.00 น.-ผู้แทนหน่วยงาน องค์กร และกลุ่มพลังต่างๆ ลงทะเบียน
08.30 น.-การแสดงศิลปะการต่อสู้จากวิทยาลัย พลศึกษาชลบุรี
09.00 น.-ผู้แทนหน่วยงาน องค์กร และกลุ่มพลังต่างๆ ตั้งแถว เพื่อเตรียมประกอบพิธี
09.15 น.-ผู้แทนหน่วยงาน องค์กร และกลุ่มพลังต่างๆ ถวายเครื่องราชสักการะ
10.00 น.-นายไพรัช สุทธิธำรงสวัสดิ์ นายกเมืองพัทยา ประธานในพิธีมาถึงบริเวณพิธี
วงดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์
ประธานขึ้นสู่บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ และประกอบพิธีถวายเครื่องราชสักการะ
ประธานกล่าวคำถวายราชสดุดี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช
10.15 น.-จบแล้ววงดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นอันเสร็จพิธี
Script ดำเนินรายการ
09.00 น. - เสียงฆ้องดัง 3 ครั้ง
- Sound ข้อความ...“เรียนท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ขณะนี้ใกล้เวลาที่จะประกอบพิธีถวายเครื่องราช สักการะ...ขอขอบคุณในความร่วมมือของทุกท่าน
09.15 น. - เสียงฆ้องดัง 3 ครั้ง
- พิธีกรประกาศ “ขณะนื้ได้เวลาประกอบพิธีถวาย เครื่องราชสักการะแด่ดวงทิพยวิญญาณแห่งองค์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้แล้วขอเรียนเชิญท่านผู้มีเกียรติ ผู้แทนหน่วยงาน องค์กรและภาคเอกชนเข้าถวาย เครื่องราชสักการะตามลำดับดังนี้...” (ตีฆ้องเป็น จังหวะให้สัญญาณตลอดพิธี)
10.00 น. - พิธีกรประกาศ “ขณะนี้ นายไพรัช สุทธิธำรง สวัสดิ์ นายกเมืองพัทยา ประธานในพิธีเดินทาง มาถึงบริเวณพิธีแห่งนี้แล้ว” - ประธานเดินออกมาหยุดยืนยังจุดที่กำหนดไว้
- การบรรเลงเพลงจบลง พิธีกรประกาศ “ลำดับนี้ ประธานจะประกอบพิธีถวายเครื่องราชสักการะแด่ดวงทิพยวิญญาณแห่งองค์สมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช ณ บัดนี้”
- เสียงฆ้องดัง 3 ครั้ง
- ประธานพร้อมเจ้าหน้าที่อัญเชิญเครื่องราช สักการะพุ่มดอกไม้สด มายืนยังจุดที่กำหนดให้
- ประธานและเจ้าน้าที่อัญเชิญฯ ถวายความเคารพพร้อมกัน
- ประธานและเจ้าหน้าที่อัญเชิญฯ เดินขั้นบันไดไปยืนหน้าแท่นวางเครื่องราชสักการะ
- ประธานถวายเครื่องราชสักการะพุ่มดอกไม้สด
- ประธานจุดธูปเทียน เครื่องทองน้อย กราบ 1 ครั้ง ไม่แบมือ
- ประธานและเจ้าหน้าที่อัญเชิญถวายความเคารพ พร้อมกันแล้วหันหลังกลับ เดินมายืนยังจุดที่กำหนดให้
- พิธีกรประกาศ “เพื่อน้อมรำลึกถึงพระวีรกรรมอันหาญกล้า ซึ่งทรงกระทำการเพื่อชาติ ศาสนา และ มหาชนอย่างแท้จริง นายกเมืองพัทยา ในนามพสกนิกรชาวเมืองพัทยา ทุกหมู่เหล่าจะได้กล่าวคำถวายราชสดุดี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช ณ บัดนี้”
- เสียงฆ้องดัง 1 ครั้ง
- ประธานออกมายืนยังจุดที่กำหนดให้และกล่าวคำถวายราชสดุดีฯ
- ประธานกล่าว... จนจบข้อความว่า"เพื่อเฉลิมพระเกียรติให้ไฟศาลตลอดกาลนานเทอญ”
10.15 น. - ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นอัน เสร็จพิธี
- ประธานและทุกคนถวายความเคารพพร้อมกัน
- เปิดเพลง “เจ้าตาก”
งานแบบไม่เป็นพิธีการ
งานลักษณะนี้จะไม่ค่อยเข้มงวดในด้านบรรยากาศของงานมากนัก จะเน้นความเป็นกันเองสอดแทรกด้วยความสนุกสนาน ขั้นตอนรายการก็อาจจะปรับยืดหยุ่นตามสถานการณ์ เช่น งานแต่งงาน งานเลี้ยงชุมนุมศิษย์เก่า งานเลี้ยงต้อนรับ งานเลี้ยงอำลา งานบันเทิงต่างๆ เป็นต้น
ข้อแนะนำสำหรับพิธีกร
1) งานแบบไม่เป็นพิธีการถึงแม้จะมีรูปแบบสบายๆ ไม่เคร่งครัดก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่พิธีกรจะต้องคำนึงเสมอ ก็คือ ขั้นตอนการดำเนินการ หรือขั้นตอนรายการ พิธีกรต้องวางขั้นตอนเหล่านี้อย่างเป็นระบบคร่าวๆ เพื่อให้สามารถควบคุมรายการได้ มิฉะนั้นจะทำให้บรรยากาศของงานดูสับสน และมีผลต่อบุคลิกภาพ รวมทั้งการพูดของพิธีกรไปทันที
2) จากประสบการณ์ของผู้เขียนเห็นว่างานแบบไม่เป็นพิธีการนั้นอาจจะดูง่ายๆ ไม่เคร่งครัดก็ตาม แต่พิธีกรหลายคนก็เป็นอันถึงกาลอนาคตดับไปเลยก็เพราะงานแบบนี้ ดังนั้น พิธีกรจะต้องมีความรู้สึกไวต่อบรรยากาศ และปฏิกิริยาของผู้ฟัง ทั้งนี้ เพื่อปรับให้ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในสภาพที่น่ารื่นรมย์ พิธีกรจะต้องมีปฏิภาณไหวพริบและต้องสามารถสร้างบรรยากาศของงานให้ได้
ผู้เขียนเคยไปร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์อยู่ครั้งหนึ่ง งานนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดไปเป็นเกียรติในงานด้วยและนับเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด จะด้วยเหตุอันใดไม่ทราบเมื่อพิธีกรเชิญผู้ว่าฯ ขึ้นปราศรัยท่านก็พูดอย่างสบายๆ แบบเป็นกันเองก็เลยใช้เวลามากไปหน่วย ขณะที่ผู้ว่าฯ กำลังพูดก็มีจดหมายน้อยส่งขึ้นมา พิธีกรรีบปราดออกไปรับทันที แล้วก็เปิดจดหมายอ่านในใจ ผู้ว่าฯ เหลือบเห็นก็เลยถามว่า “มีอะไรหรือ” ด้วยความซื่อหรือจะเรียกว่าอะไรก็ไม่ทราบ พิธีกรยื่นจดหมายน้อยให้ผู้ว่าฯ ทันทีพอผู้ว่าฯ เปิดจดหมายออกอ่านด้วยน้ำเสียงดังฟังชัดสมกับเป็นผู้นำ จากข้อความที่เขียนมาว่า “หยุดพูดเสียที อยากจะฟังเพลงแล้ว เบื่อว่ะ” เหตุการณ์เป็นอย่างไรต่อไปท่านคงจะพอเดาออก ปรากฏว่าพิธีกรซึ่งเป็นข้าราชการหนุ่มไฟแรงและนับเป็นครั้งแรกในชีวิตของเขาที่ทำหน้าที่นี้ถูกตำหนิอย่างมากมาย และนับแต่นั้นมาเขาก็ดูจะขยาดเวทีไปอีกนาน
3) การใช้ภาษาในงานแบบนี้ อาจจะต้องใช้ภาษาที่ทันสมัยปะปนไปด้วยก็ได้ แต่ต้องคำนึงถึงความพอดี ทั้งในแง่ของบรรยากาศ บุคคล และสถานที่ด้วยภาษาเหล่านี้จะเป็นตัวเสริมบรรยากาศให้เป็นกันเองได้ เช่น เจ๋ง วืด เนี๊ยบ เหล่านี้เป็นต้น
4) นอกจากนี้ ข้อแนะนำอื่นๆ ให้ดูจากข้อแนะนำในงานแบบพิธีการประกอบ เช่น เวลา การแต่งกาย การเตรียม Script
โดยทั่วไปงานสังคมที่เราพบเห็นจะมีอยู่ 3 ประเภท คือ งานแบบเป็นพิธีการ งานแบบไม่เป็นพิธีการ และงานกึ่งพิธีการ ลักษณะของงานถูกจำแนกเป็นประเภทตามบรรยากาศและรูปแบบของงาน พิธีกรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ และแยกแยะได้ เพราะงานบางงานอาจจะมีลักษณะบรรยากาศผสมกลมกลืนกันทั้ง 3 ประเภท ในขณะที่บางงานจะมีบรรยากาศ และรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ชัดเจน การทำหน้าที่ของพิธีการในแต่ละบรรยากาศของงานจึงต้องแตกต่างกันออกไป
งานแบบพิธีการ
งานลักษณะนี้มักจะมีลำดับขั้นตอนของการดำเนินรายการอย่างเป็นรูปแบบที่เคร่งครัดทั้งในด้านเวลา คำพูดที่จะใช้ และขั้นตอนรายการ เช่น งานพระราชพิธีต่างๆ งานมอบประกาศเกียรติคุณ งานเปิดการฝึกอบรมหรือการประชุมที่เป็นทางการ ได้แก่ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น
ข้อแนะนำสำหรับพิธีกร
1) พิธีกรต้องมีความแม่นำในขั้นตอนการดำเนินรายการ เพราะงานแบบพิธีการจะผิดเพี้ยนไปไม่ได้เลย งานพิธีการจะมีกรอบโครงสร้างตายตัว ก่อนทำหน้าที่ควรศึกษาขั้นตอนว่า ใครจะต้องทำอะไร เมื่อไร และที่ไหน 2) ต้องทราบรายละเอียดของบุคคลที่จะต้องเอ่ยถึงในงานว่า ใครคือคนสำคัญที่สุดในงาน ใครเป็นประธานของงาน การเอ่ยชื่อ –สกุล ยศ ตำแหน่งต้องถูกต้อง
3) ควรไปถึงงานก่อนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบความพร้อมของงาน และประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องให้ชัดเจนอีกครั้ง และเพื่อกันความผิดพลาด
4) การแต่งกายของพิธีกรจะต้องเรียบร้อยถูกต้องกับลักษณะงาน เช่น การแต่งชุดข้าราชการเต็มยศหรือครึ่งยศ หรือชุดปกติกากีคอพับ หากเป็นงานราตรีก็ควรจะแต่งกายให้ดูดีเหมาะสมเหล่านี้เป็นต้น
5 )พิธีกรควรจัดทำ Script การดำเนินรายการให้ชัดเจน คำว่า Script มิได้หมายถึง กำหนดการจัดงาน แต่หมายถึงบทโดยละเอียดที่พิธีกรจะต้องทำรายละเอียดเพิ่มเติมโดยประสารกับผู้เกี่ยวข้อง หากมีฝ่ายจัดทำให้แล้ว พิธีกรจะต้องศึกษาให้แม่นยำอีกครั้ง
เพื่อให้ชัดเจนขึ้นจะขอยกตัวอย่างประกอบดังนี้
กำหนดการพิธีถวายเครื่องราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ณ ลานหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมืองพัทยา
วันที่ 28 ธันวาคม 2546
08.00 น.-ผู้แทนหน่วยงาน องค์กร และกลุ่มพลังต่างๆ ลงทะเบียน
08.30 น.-การแสดงศิลปะการต่อสู้จากวิทยาลัย พลศึกษาชลบุรี
09.00 น.-ผู้แทนหน่วยงาน องค์กร และกลุ่มพลังต่างๆ ตั้งแถว เพื่อเตรียมประกอบพิธี
09.15 น.-ผู้แทนหน่วยงาน องค์กร และกลุ่มพลังต่างๆ ถวายเครื่องราชสักการะ
10.00 น.-นายไพรัช สุทธิธำรงสวัสดิ์ นายกเมืองพัทยา ประธานในพิธีมาถึงบริเวณพิธี
วงดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์
ประธานขึ้นสู่บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ และประกอบพิธีถวายเครื่องราชสักการะ
ประธานกล่าวคำถวายราชสดุดี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช
10.15 น.-จบแล้ววงดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นอันเสร็จพิธี
Script ดำเนินรายการ
09.00 น. - เสียงฆ้องดัง 3 ครั้ง
- Sound ข้อความ...“เรียนท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ขณะนี้ใกล้เวลาที่จะประกอบพิธีถวายเครื่องราช สักการะ...ขอขอบคุณในความร่วมมือของทุกท่าน
09.15 น. - เสียงฆ้องดัง 3 ครั้ง
- พิธีกรประกาศ “ขณะนื้ได้เวลาประกอบพิธีถวาย เครื่องราชสักการะแด่ดวงทิพยวิญญาณแห่งองค์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้แล้วขอเรียนเชิญท่านผู้มีเกียรติ ผู้แทนหน่วยงาน องค์กรและภาคเอกชนเข้าถวาย เครื่องราชสักการะตามลำดับดังนี้...” (ตีฆ้องเป็น จังหวะให้สัญญาณตลอดพิธี)
10.00 น. - พิธีกรประกาศ “ขณะนี้ นายไพรัช สุทธิธำรง สวัสดิ์ นายกเมืองพัทยา ประธานในพิธีเดินทาง มาถึงบริเวณพิธีแห่งนี้แล้ว” - ประธานเดินออกมาหยุดยืนยังจุดที่กำหนดไว้
- การบรรเลงเพลงจบลง พิธีกรประกาศ “ลำดับนี้ ประธานจะประกอบพิธีถวายเครื่องราชสักการะแด่ดวงทิพยวิญญาณแห่งองค์สมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช ณ บัดนี้”
- เสียงฆ้องดัง 3 ครั้ง
- ประธานพร้อมเจ้าหน้าที่อัญเชิญเครื่องราช สักการะพุ่มดอกไม้สด มายืนยังจุดที่กำหนดให้
- ประธานและเจ้าน้าที่อัญเชิญฯ ถวายความเคารพพร้อมกัน
- ประธานและเจ้าหน้าที่อัญเชิญฯ เดินขั้นบันไดไปยืนหน้าแท่นวางเครื่องราชสักการะ
- ประธานถวายเครื่องราชสักการะพุ่มดอกไม้สด
- ประธานจุดธูปเทียน เครื่องทองน้อย กราบ 1 ครั้ง ไม่แบมือ
- ประธานและเจ้าหน้าที่อัญเชิญถวายความเคารพ พร้อมกันแล้วหันหลังกลับ เดินมายืนยังจุดที่กำหนดให้
- พิธีกรประกาศ “เพื่อน้อมรำลึกถึงพระวีรกรรมอันหาญกล้า ซึ่งทรงกระทำการเพื่อชาติ ศาสนา และ มหาชนอย่างแท้จริง นายกเมืองพัทยา ในนามพสกนิกรชาวเมืองพัทยา ทุกหมู่เหล่าจะได้กล่าวคำถวายราชสดุดี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช ณ บัดนี้”
- เสียงฆ้องดัง 1 ครั้ง
- ประธานออกมายืนยังจุดที่กำหนดให้และกล่าวคำถวายราชสดุดีฯ
- ประธานกล่าว... จนจบข้อความว่า"เพื่อเฉลิมพระเกียรติให้ไฟศาลตลอดกาลนานเทอญ”
10.15 น. - ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นอัน เสร็จพิธี
- ประธานและทุกคนถวายความเคารพพร้อมกัน
- เปิดเพลง “เจ้าตาก”
งานแบบไม่เป็นพิธีการ
งานลักษณะนี้จะไม่ค่อยเข้มงวดในด้านบรรยากาศของงานมากนัก จะเน้นความเป็นกันเองสอดแทรกด้วยความสนุกสนาน ขั้นตอนรายการก็อาจจะปรับยืดหยุ่นตามสถานการณ์ เช่น งานแต่งงาน งานเลี้ยงชุมนุมศิษย์เก่า งานเลี้ยงต้อนรับ งานเลี้ยงอำลา งานบันเทิงต่างๆ เป็นต้น
ข้อแนะนำสำหรับพิธีกร
1) งานแบบไม่เป็นพิธีการถึงแม้จะมีรูปแบบสบายๆ ไม่เคร่งครัดก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่พิธีกรจะต้องคำนึงเสมอ ก็คือ ขั้นตอนการดำเนินการ หรือขั้นตอนรายการ พิธีกรต้องวางขั้นตอนเหล่านี้อย่างเป็นระบบคร่าวๆ เพื่อให้สามารถควบคุมรายการได้ มิฉะนั้นจะทำให้บรรยากาศของงานดูสับสน และมีผลต่อบุคลิกภาพ รวมทั้งการพูดของพิธีกรไปทันที
2) จากประสบการณ์ของผู้เขียนเห็นว่างานแบบไม่เป็นพิธีการนั้นอาจจะดูง่ายๆ ไม่เคร่งครัดก็ตาม แต่พิธีกรหลายคนก็เป็นอันถึงกาลอนาคตดับไปเลยก็เพราะงานแบบนี้ ดังนั้น พิธีกรจะต้องมีความรู้สึกไวต่อบรรยากาศ และปฏิกิริยาของผู้ฟัง ทั้งนี้ เพื่อปรับให้ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในสภาพที่น่ารื่นรมย์ พิธีกรจะต้องมีปฏิภาณไหวพริบและต้องสามารถสร้างบรรยากาศของงานให้ได้
ผู้เขียนเคยไปร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์อยู่ครั้งหนึ่ง งานนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดไปเป็นเกียรติในงานด้วยและนับเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด จะด้วยเหตุอันใดไม่ทราบเมื่อพิธีกรเชิญผู้ว่าฯ ขึ้นปราศรัยท่านก็พูดอย่างสบายๆ แบบเป็นกันเองก็เลยใช้เวลามากไปหน่วย ขณะที่ผู้ว่าฯ กำลังพูดก็มีจดหมายน้อยส่งขึ้นมา พิธีกรรีบปราดออกไปรับทันที แล้วก็เปิดจดหมายอ่านในใจ ผู้ว่าฯ เหลือบเห็นก็เลยถามว่า “มีอะไรหรือ” ด้วยความซื่อหรือจะเรียกว่าอะไรก็ไม่ทราบ พิธีกรยื่นจดหมายน้อยให้ผู้ว่าฯ ทันทีพอผู้ว่าฯ เปิดจดหมายออกอ่านด้วยน้ำเสียงดังฟังชัดสมกับเป็นผู้นำ จากข้อความที่เขียนมาว่า “หยุดพูดเสียที อยากจะฟังเพลงแล้ว เบื่อว่ะ” เหตุการณ์เป็นอย่างไรต่อไปท่านคงจะพอเดาออก ปรากฏว่าพิธีกรซึ่งเป็นข้าราชการหนุ่มไฟแรงและนับเป็นครั้งแรกในชีวิตของเขาที่ทำหน้าที่นี้ถูกตำหนิอย่างมากมาย และนับแต่นั้นมาเขาก็ดูจะขยาดเวทีไปอีกนาน
3) การใช้ภาษาในงานแบบนี้ อาจจะต้องใช้ภาษาที่ทันสมัยปะปนไปด้วยก็ได้ แต่ต้องคำนึงถึงความพอดี ทั้งในแง่ของบรรยากาศ บุคคล และสถานที่ด้วยภาษาเหล่านี้จะเป็นตัวเสริมบรรยากาศให้เป็นกันเองได้ เช่น เจ๋ง วืด เนี๊ยบ เหล่านี้เป็นต้น
4) นอกจากนี้ ข้อแนะนำอื่นๆ ให้ดูจากข้อแนะนำในงานแบบพิธีการประกอบ เช่น เวลา การแต่งกาย การเตรียม Script
งานแบบกึ่งพิธีการ
งานลักษณะนี้บางโอกาสก็คือ งานพิธีการนั่นเอง เพียงแต่มีความแตกต่างของบรรยากาศ และบางโอกาสกคืองานแบบไม่เป็นพิธีการได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้จะสังเกตได้อย่างไร จากประสบการณ์ของผู้เขียนแล้วจะใช้วิธีพูดคุยกับเจ้าของงาน หรือผู้รับผิดชอบถึงขอบข่ายของงานลักษณะบรรยากาศ ลักษณะบุคคลที่เป็นประธาน และผู้มาร่วมงานเป็นหลัก งานลักษณะนี้ได้แก่ งานแต่งงาน งานบวช งานเลี้ยงรับรอง งานเกษียณอายุ เป็นต้น
ข้อแนะนำสำหรับพิธีกร
1) พิธีกรควรจะพูดคุยกับเจ้าของงานหรือผู้รับผิดชอบงานในรายละเอียดของงานให้แน่ชัดว่าช่วงใดจะต้องดำเนินรายการแบบเป็นทางการ หรือเป็นพิธีการช่วงใดสามารถดำเนินรายการโดยอิสระไม่ยึดรูปแบบเคร่งครัดหรือแบบไม่เป็นพิธีการ หากเจ้าของงานขอคำแนะนำเพราะไม่มั่นใจว่าจะทำอะไรช่วงใด พิธีกรต้องช่วยชี้แนะและวางรายการให้เพื่อให้เหมาะสมที่สุด
2) การเตรียมการอื่นๆ ของพิธีกรให้ศึกษาจากข้อแนะนำที่เสนอไว้ในงานแบบพิธีการและแบบไม่เป็นพิธีการ
กล่าวโดยสรุปแล้วการทำหน้าที่ของพิธีกรในลักษณะต่างๆนั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับหลักการที่ถูกต้องแล้ว ยังต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละองค์กรนั้นๆ ด้วย จะเป็นว่า งานบางงานจะเป็นทั้งแบบพิธีการและกึ่งพิธีการหรือไม่เป็นพิธีการในงานเดียวกันก็ได้ ดังนั้น ประสบการณ์ การู้จักเป็นผู้สังเกต และการพัฒนาตนเองของพิธีกรเท่านั้นที่จะทำให้การทำหน้าที่พิธีกรแต่ละครั้งดำเนินไปได้อย่างน่าประทับใจ
งานลักษณะนี้บางโอกาสก็คือ งานพิธีการนั่นเอง เพียงแต่มีความแตกต่างของบรรยากาศ และบางโอกาสกคืองานแบบไม่เป็นพิธีการได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้จะสังเกตได้อย่างไร จากประสบการณ์ของผู้เขียนแล้วจะใช้วิธีพูดคุยกับเจ้าของงาน หรือผู้รับผิดชอบถึงขอบข่ายของงานลักษณะบรรยากาศ ลักษณะบุคคลที่เป็นประธาน และผู้มาร่วมงานเป็นหลัก งานลักษณะนี้ได้แก่ งานแต่งงาน งานบวช งานเลี้ยงรับรอง งานเกษียณอายุ เป็นต้น
ข้อแนะนำสำหรับพิธีกร
1) พิธีกรควรจะพูดคุยกับเจ้าของงานหรือผู้รับผิดชอบงานในรายละเอียดของงานให้แน่ชัดว่าช่วงใดจะต้องดำเนินรายการแบบเป็นทางการ หรือเป็นพิธีการช่วงใดสามารถดำเนินรายการโดยอิสระไม่ยึดรูปแบบเคร่งครัดหรือแบบไม่เป็นพิธีการ หากเจ้าของงานขอคำแนะนำเพราะไม่มั่นใจว่าจะทำอะไรช่วงใด พิธีกรต้องช่วยชี้แนะและวางรายการให้เพื่อให้เหมาะสมที่สุด
2) การเตรียมการอื่นๆ ของพิธีกรให้ศึกษาจากข้อแนะนำที่เสนอไว้ในงานแบบพิธีการและแบบไม่เป็นพิธีการ
กล่าวโดยสรุปแล้วการทำหน้าที่ของพิธีกรในลักษณะต่างๆนั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับหลักการที่ถูกต้องแล้ว ยังต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละองค์กรนั้นๆ ด้วย จะเป็นว่า งานบางงานจะเป็นทั้งแบบพิธีการและกึ่งพิธีการหรือไม่เป็นพิธีการในงานเดียวกันก็ได้ ดังนั้น ประสบการณ์ การู้จักเป็นผู้สังเกต และการพัฒนาตนเองของพิธีกรเท่านั้นที่จะทำให้การทำหน้าที่พิธีกรแต่ละครั้งดำเนินไปได้อย่างน่าประทับใจ
เทคนิคหรือกลยุทธ์ของการเป็นพิธีกร
ลีเจง ถนอมวรกุล
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีความต้องการที่จะติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลาเพื่อที่จะให้ผู้อื่นเข้าใจตนเองและให้ตนเองเข้าใจผู้อื่น พยายามที่จะติดต่อสื่อสารระหว่างกันเพื่อจะได้รับรู้ข่าวสารเรื่องราวต่าง ๆยิ่งในยุคนี้ซึ่งเป็นยุคที่เรียกกันว่ายุคโลกาภิวัตรที่สื่อทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มีบทบาทสำคัญในการติดต่อสื่อสารโดยนำเสนอเป็นรายการในรูปแบบต่าง ๆ จะเห็นได้ว่ามีบุคคลทำหน้าที่เป็นพิธีกรหรือผู้ดำเนินรายการซึ่งพิธีกรหรือผู้ดำเนินรายการนี้ใช่จะเป็นกันได้ง่าย ๆ ไม่ใช่สักแต่ว่ามือถือไมล์ ไฟส่องหน้าใคร ๆ ก็จะเป็นกันได้ หากแต่ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญ ความเข้าใจและปฏิภาณไหวพริบหลาย ๆอย่างประกอบกันเพื่อทำให้รายการดำเนินไปสู่จุดหมายปลายที่ได้วางเอาไว้ พิธีกรต้องรู้เทคนิคหรือกลยุทธ์ของการเป็นพิธีกร
ความหมายและความสำคัญของพิธีกรรายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
พิธีกร ผู้ดำเนินรายการ ความหมายมาจากคำภาษาอังกฤษว่า M.C. คือ Master of ceremony พิธีกรความหมายทั่ว ๆ ไปคือมีหน้าที่ในการจัดลำดับพิธีการให้เป็นไปตามกำหนดการที่เขาวางไว้ล่วงหน้าหรือตามที่เห็นสมควรด้วยการประกาศแจ้งให้ผู้เข้าร่วมพิธีเข้าร่วมกิจกรรมตามกำหนดการและแนะนำตัวบุคคลและผู้ร่วมพิธีการได้รู้จักหรือสนทนาหรือสัมภาษณ์บุคคลสำคัญในพิธีการนั้นหรือรวมกล่าวได้ว่าพิธีกรมีหน้าที่ดำเนินพิธีการตั้งแต่ต้นจนจบ หรือตามรายการหรือตามเวลาที่ได้รับมอบหมายให้ครบถ้วนทางด้านวิทยุหรือทางด้านโทรทัศน์ วิทยุคือวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์พิธีกรดำเนินรายการคือผู้ที่จะสามารถทำให้รายการนั้นดำเนินไปด้วยอย่างราบรื่น อาจจะทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมรายการเป็นผู้ร่วมสนทนาหรือเป็นผู้ประกาศของรายการนั้น ๆ
หลักการพูดทางวิทยุกระจายเสียงและทางวิทยุโทรทัศน์มีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร
การพูดทางวิทยุกระจายเสียงกับการพูดทางวิทยุโทรทัศน์จะแตกต่างกันการพูดทางวิทยุกระจายเสียงนั้นเป็นการพูดโดยที่มองไม่เห็นตัวหน้าไม่เห็นหน้าผู้ฟัง เพราะฉะนั้นการพูดทางวิทยุจะต่างกับโทรทัศน์ตรงที่ทางวิทยุจะต้องพูดให้เขาฟังโดยให้ผู้ฟังเกิดภาพพจน์ตามไปด้วย ส่วนโทรทัศน์นั้นผู้ชมเห็นภาพทางจอโทรทัศน์อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการพูดทางโทรทัศน์ก็คงจะต้องบวกบุคลิกภาพลีลาเข้าไปด้วย
หลักการอย่างไรที่จะทำให้ผู้ฟังหรือผู้ชมเกิดความสนใจและติดตามรายการ
การที่จะทำให้รายการประสบความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์นั้น จะต้องมีการเตรียมตัวที่ดี คนที่พูดไม่ค่อยดีนักคงต้องเตรียมฝึกพูดเสียก่อน ทางวิทยุกระจายเสียงจะต้องฝึกเปล่งเสียงออกมาเพราะบางคนจะมีการเปล่งเสียงไม่คงที่ การเตรียมฝึกตัวเองในเรื่องของการเปล่งเสียงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเปล่งนาน ๆ การรักษาระดับเสียงให้คงที่เป็นสิ่งสำคัญ ฝึกกลั้นลมหายใจเมื่อเวลาพูดนาน ๆ หลายประโยคจะไม่เหนื่อย บางคนอ่านหนังสือนาน ๆ น้ำลายจะสอตรงริมฝีปาก บางคนพูดช้ามากคนจะรู้สึกอึดอัดไปด้วย บางคนจะพูดเร็วจนเกินไปคนฟังจะฟังไม่ทัน การเตรียมตัวนั้นจะต้องเตรียมทั้งด้านสุขภาพ บางคนอาจจะเป็นโรคหัวใจจะเหนื่อยเร็วทำงานทางด้านโทรทัศน์หรือวิทยุไม่ได้ คงต้องระวังรักษาสุขภาพให้ดีเสียงที่เปล่งออกมาจะได้ชวนฟัง บางคนที่เหนื่อยมาก ๆ เสียงที่พูดออกมาไม่กระฉับกระเฉง พูดเหนื่อยมาก ๆ คนฟังรำคาญตามไปด้วย ควรจะทำจิตใจให้เบิกบานแจ่มใสเสียงจะได้เบิกบานไปด้วย ส่วนอารมณ์โกรธน้ำเสียงที่ออกมาจะสื่อเสียงโกรธออกมาด้วยต้องมีอารมณ์ที่เบิกบานแจ่มใส พูดไปด้วยยิ้มไปด้วยอาจจะทำให้คนฟังยิ้มตามไปด้วย การเตรียมบทวิทยุจะต้องเตรียมคำพูดมาแล้วถ้าหากว่าไม่มีบทติดมือมาด้วยบางครั้งลืม คำพูดที่พูดออกไปอาจจะไม่ดี ส่วนทางด้านโทรทัศน์คงจะต้องฝึกหลายอย่าง เพราะจะต้องมีลีลาประกอบไปด้วย จะต้องฝึกหน้ากระจกเพื่อเราได้ดูตัวเองได้ว่าเป็นอย่างไรฝึกโดยใช้เครื่องมือช่วยคือการบันทึกเทปเอาไว้ จากนั้นมาสำรวจตัวเองว่าสิ่งที่ทำไปดีไหม จะเป็นกระจกบานแรกที่จะสะท้อนตัวเองก่อนเอาไปให้คนอื่นวิจารร์ และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยการฝึกพูดอีกประการหนึ่งคือจะต้องฝึกในการพูดไปด้วยยิ้มไปด้วย สิ่งเหล่านี้จะเป็นเสน่ห์ของผู้ดำเนินรายการทางโทรทัศน์และมีหลายคนที่ประสบความสำเร็จ ในขณะเดียวกันทางด้านโทรทัศน์จะต้องมีการฝึกการใช้สายตาด้วยบางคนจะชินกับกล้อง ๆ เดียว อาจจะมองกล้องไม่ดี บางคนมองไฟแดง ๆ ที่อยู่บนตัวกล้องทำให้ตาเหลือบออกไปเพราะฉะนั้นจะต้องฝึกสบตากับกล้อง ถ้าจะพูดกับผู้ชมอย่าทำตาหลุกหลิกมองโน่นมองนี่ดูเวลาว่าจะจบหรือยังไม่มีสมาธิสิ่งเหล่านี้เป็นการฝึกสำหรับผู้ที่จะพูดทางโทรทัศน์และฝึกพูดในลักษณะนั่งหรือเดินให้คล่องแคล่ว พิธีกรบางครั้งจะถูกสั่งให้เดินแล้วพูด บางคนนั่งแล้วพูดเสียงจะได้คงที่ บางคนยืนพูดแล้วเสียงดัง
พิธีกรดำเนินรายการควรมีบุคลิกภาพอย่างไรสำหรับบุคลิกภาพทางวิทยุปรับปรุงเฉพาะลีลาการพูด น้ำเสียงและอักขระต่าง ๆ ทางด้านโทรทัศน์นั้นบุคลิกภาพสำคัญมากต้องปรับปรุงและแต่งเติมในส่วนที่ขาดไป เช่น รายการต่าง ๆ ที่ดำเนินรายการอยู่ รายการโทรทัศน์มีหลายประเภทด้วยกัน แต่ละประเภทจะเหมาะกับบุคลิกของแต่ละรายการนั้น ๆ เช่น รายการบันเทิงจะเริ่มตั้งแต่รูปร่างหน้าที่ คนที่จะทำรายการบันเทิงได้จะต้องปรับปรุงบุคลิกภาพให้เป็นคนที่ยิ้มแย้มแจ่มใสสร้างความเพลิดเพลินให้ผู้ชมคลายเครียดจากการทำงานมาดูรายการทำให้เพลิดเพลินไปด้วยเพราะฉะนั้นรูปร่างหน้าตาของผู้ดำเนินรายการบันเทิงจะต้องดูดีถึงแม้ว่าจะไม่สวยมากแต่ขอให้ดูดีซึ่งต่างกับผู้ดำเนินรายการข่าวบุคลิกภาพจะต้องปรับปรุงให้ดูน่าเชื่อถือ รูปร่างหน้าตาต้องปรับปรุง ถ้าหากทำรายการกับเด็ก ๆ ทำดูเด็กก็ได้แต่สำหรับรายการเพลงไทยเดิมหรือเพลงไทยต้องแต่งตัวเป็นไทย ๆ บุคลิกภาพเหล่านี้ปรับปรุงไปตามรายการนั้น ๆ ส่วนรายการข่าวจะต้องแต่งตัวให้ดูเคร่งขรึม ผู้ชายจะต้องสวมสูท ส่วนผู้หญิงต้องสวมเสื้อผ้าที่ดูดี ดูแล้วชวนมอง เครื่องแต่งตัวเครื่องประดับต่าง ๆ ให้เหมาะสมเป็นบุคลิกภาพที่สามารถจะปรับปรุงได้ คนอ่านข่าวจะต้องไม่แต่งตัวที่ใส่เครื่องประดับราคาแพงวูบวาบเกินไปนักส่วนรายการบันเทิงอื่น ๆ ที่เป็นรายการวงดนตรีใหญ่ ๆ อาจจะแต่งตัวค่อนข้างดี หรูหรา เป็นชุดราตรียาวส่วนน้ำเสียงนั้นจะต้องปรับปรุงถ้าเป็นรายการเด็กจะต้องเป็นเสียงที่พูดกับเด็กแต่ส่วนรายการผู้ใหญ่จะใช้เสียงเด็ก ๆ ไร้เดียงสาคงจะไม่เหมาะนักเพราะฉะนั้นจะต้องทำเสียงให้เข้ากับบรรยากาศนั้น ๆ ส่วนการพูดคุยกับผู้ที่พูดภาษาฝรั่งตลอดเวลาจะต้องคอยแปลเป็นไทยให้คนฟังบ้างนิดหน่อยแล้วก็ใช้ภาษาที่ง่าย ๆ ให้กับคนฟัง ให้คนฟังเข้าใจวิธีการพูด ให้พูดชัดถ้อยชัดคำปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเองในเรื่องของลีลา น้ำเสียง จังหวะ ท่าทาง นอกจากรูปร่างหน้าตา ทรงผม เครื่องแต่งตัว วิธีการพูด น้ำเสียงแล้วกิริยาท่าทางเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพิธีกร เพราะพิธีกรที่ดีนั้นจะต้องมีกิริยาท่าทางที่นุ่มนวลหรือร่าเริง หรืออะไรก็ได้ที่ทำให้ผู้ชม ผู้ฟัง ที่อยู่ทางบ้านมีส่วนร่วมกับรายการนั้นไปด้วยในขอบเขตที่เหมาะสม แต่ในขณะเดียวกันผู้ที่เป็นพิธีกรจะต้องให้เกียรติทุกคนที่มาร่วมรายการและผู้ฟังผู้ชมทางบ้านเสมอ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้อยู่เสมอ พิธีกรจะต้องมีการควบคุมอามรณ์ได้ดี พยายามแก้ไขปัญหาด้วยความสุขุมรอบคอบ บุคคลที่จะเป็นพิธีกรทางวิทยุหรือโทรทัศน์หรือวิทยุควรฝึกเรื่องอักขระให้ถูกต้อง แม่นยำ ภาษาไทยเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เป็นวัฒนธรรมทางภาษา อาจจะเป็นหนึ่งในโลกที่ดีที่สุดอยู่ในขณะนี้ พิธีกรทางโทรทัศน์ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ให้มาก ๆ บุคคลที่จะเป็นพิธีกรดำเนินรายการจะต้องรู้จักดูรายการของคนอื่น ๆ ด้วย ดูให้มาก ๆ แล้วนำมาพัฒนา ปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเองอยู่ตลอดเวลา
เทคนิคการใช้ไมโครโฟน
วรรณภา วรรณศรี
ทำไมต้องมาพูดกันถึงเรื่องของไมโครโฟน ? ก็เพราะพิธีกรกับไมโครโฟนเป็นของคู่กัน หากจะเปรียบว่า "มือถือไมค์ไฟส่องหน้า" เหมือนนักร้องก็คงไม่ผิดกันสักเท่าไหร่นัก พิธีกรหลายคนเสียอนาคตไปเพราะไมโครโฟนก็มากมาย โดยเฉพาะ "พิธีกรมืออาชีพ" แต่ไม่ได้มีอาชีพพิธีกรอย่างเราท่าน บางงานเจ้าภาพก็ไม่ได้สนใจระบบเครื่องเสียงสักเท่าใด คงอาจเห็นว่าตนเองไม่ได้พูด ประกอบพิธีกรก็มักจะเป็นประเภทขอแรงมาช่วยกัน ดังนั้่นขอให้พูดผ่านไมโครโฟนแล้วมีเสียงออกมาทางลำโพงให้ได้ยินกันอย่างทั่วถึงก็ถือว่าระบบเสียงใช้ได้แล้ว ผู้เขียนเองก็จะเจอเหตุการณ์แบบนี้เป็นประจำ และเราท่านทั้งหลายก็คงจะต้องอยู่ในฐานะเดียวกับผู้เขียนเป็นส่วนใหญ่ เจ้าภาพหรือเจ้าของงานมักจะลืมความสำคัญของระบบเสียง เพราะมั่นใจในตัวพิธีกร แต่หารู้ไม่ว่า พิธีกรต้องสูญเสียบุคลิกภาพการพูดไปอย่างน่าเห็นใจ
แต่อย่างไรก็ตามขอเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับเทคนิคการใช้ไมโครโฟนจากประสบการณ์ของผู้เขียนเอง เพื่อว่าอาจจะเป็นแนวทางสำหรับทุกท่านบ้าง
1) ควรไปถึงงานก่อนเวลาสัก 1 ชั่วโมง แล้วลองพูดผ่านไมโครโฟนดูว่า กระแสเสียงเป็นอย่างไร ชัดเจนแค่ไหน ตามปกติจะมีตำราว่า การใช้ไมโครโฟนควรให้ห่างจากปากประมาณ 10 นิ้ว แต่จากประสบการณ์ผู้เขียนแล้ว พบว่า ไมโครโฟนสมัยนี้มีหลายแบบหลายรุ่น บางรุ่นอยู่ห่างปากพูดเบาๆก็ได้ยิน บางรุ่นต้องถือจ่อไว้เกือบติดปากเสียงจึงจะชัดเจน ดังนั้นขอเสนอเป็นบรรทัดฐานว่า ควรถือไมโครโฟนห่างจากปากประมาณ 1 คืบ จะเหมาะที่สุด
2) ขณะพูดควรสังเกตเสียงที่ออกจากไมโึีครโฟนด้วยว่า ชัดเจนแค่ไหน ท่่านต้องปรับระยะการใช้ไมโครโฟนให้เหมาะสมสมอ บางทีพูดๆไปเสียงลมจากการเปิดปากพูด หรือเสียงลมหายใจจะออกมาชัดเจน ต้องใช้วิธีดึงไมโครโฟนออกห่างจากปากสักหน่อยแล้วพูด หรือถ้าเป็นไมค์ลอยลักษณะการถือมักจะต้องจับไมโครโฟนเกือบขนานกับพื้นเสียงจึงจะออกมาชัดเจน
3) ต้องสังเกตว่า สวิชท์เปิดปิดไมโครโฟนอยู่ตรงไหน ก่อนพูดต้องเปิดให้เรียบร้อยและพูดจบต้องปิดให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันเสียงอื่นๆแทรกขณะไม่ได้ใช้ไมโครโฟน นอกจากนี้ขาตั้งไมค์จะมีหลายแบบท่านต้องศึกษาจากผู้ควบคุมเสียงว่าจะเลื่อนขึ้นลงอย่างไร บางรุ่นจะใช้วิธีหมุนเกลียว บริเวณขาไมค์ บางรุ่นจะใช้วิธียกที่ข้อต่อ ท่านต้องสอบถามให้แน่ชัด
4) เมื่อเริ่มต้นพูดอย่าทดลองเสียงด้วย คำว่า "ฮัลโหล...ฮัลโหล" หรือเคาะ หรือเป่าลมใส่ไมโครโฟนเป็นอันขาด ควรพูดออกไปเลยว่า "สวัสดีค่ะ (ครับ)" และนี้เองที่ท่านจะเป็นต้องมาถึงงานก่อนเวลาเริ่มงานเพื่อทดสอบความพร้อมของไมโครโฟน
5) เมื่อพูดจบแต่ละช่วงหากท่านจำเป็นต้องยืนอยู่บนเวที และต้องถือไมโครโฟนไว้ ควรถือไว้ระดับเอว อย่ายืนถือแบบตามสบายโดยหย่อนข้างลำตัว พราะจะทำให้ดูบุคลิกภาพไม่ดี
และนี่คือเรื่องราวของเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ เที่ยวกับการใช้ไมค์โครโฟน ซึ่งพิธีกรทุกคนควรจะทราบ เพราะสิ่งเล็กๆ น้อย ๆ เหล่านี้อาจจะสร้างความสำเร็จและความล้มเหลวให้พิธีกรได้เช่นนั้น
ทำไมต้องมาพูดกันถึงเรื่องของไมโครโฟน ? ก็เพราะพิธีกรกับไมโครโฟนเป็นของคู่กัน หากจะเปรียบว่า "มือถือไมค์ไฟส่องหน้า" เหมือนนักร้องก็คงไม่ผิดกันสักเท่าไหร่นัก พิธีกรหลายคนเสียอนาคตไปเพราะไมโครโฟนก็มากมาย โดยเฉพาะ "พิธีกรมืออาชีพ" แต่ไม่ได้มีอาชีพพิธีกรอย่างเราท่าน บางงานเจ้าภาพก็ไม่ได้สนใจระบบเครื่องเสียงสักเท่าใด คงอาจเห็นว่าตนเองไม่ได้พูด ประกอบพิธีกรก็มักจะเป็นประเภทขอแรงมาช่วยกัน ดังนั้่นขอให้พูดผ่านไมโครโฟนแล้วมีเสียงออกมาทางลำโพงให้ได้ยินกันอย่างทั่วถึงก็ถือว่าระบบเสียงใช้ได้แล้ว ผู้เขียนเองก็จะเจอเหตุการณ์แบบนี้เป็นประจำ และเราท่านทั้งหลายก็คงจะต้องอยู่ในฐานะเดียวกับผู้เขียนเป็นส่วนใหญ่ เจ้าภาพหรือเจ้าของงานมักจะลืมความสำคัญของระบบเสียง เพราะมั่นใจในตัวพิธีกร แต่หารู้ไม่ว่า พิธีกรต้องสูญเสียบุคลิกภาพการพูดไปอย่างน่าเห็นใจ
แต่อย่างไรก็ตามขอเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับเทคนิคการใช้ไมโครโฟนจากประสบการณ์ของผู้เขียนเอง เพื่อว่าอาจจะเป็นแนวทางสำหรับทุกท่านบ้าง
1) ควรไปถึงงานก่อนเวลาสัก 1 ชั่วโมง แล้วลองพูดผ่านไมโครโฟนดูว่า กระแสเสียงเป็นอย่างไร ชัดเจนแค่ไหน ตามปกติจะมีตำราว่า การใช้ไมโครโฟนควรให้ห่างจากปากประมาณ 10 นิ้ว แต่จากประสบการณ์ผู้เขียนแล้ว พบว่า ไมโครโฟนสมัยนี้มีหลายแบบหลายรุ่น บางรุ่นอยู่ห่างปากพูดเบาๆก็ได้ยิน บางรุ่นต้องถือจ่อไว้เกือบติดปากเสียงจึงจะชัดเจน ดังนั้นขอเสนอเป็นบรรทัดฐานว่า ควรถือไมโครโฟนห่างจากปากประมาณ 1 คืบ จะเหมาะที่สุด
2) ขณะพูดควรสังเกตเสียงที่ออกจากไมโึีครโฟนด้วยว่า ชัดเจนแค่ไหน ท่่านต้องปรับระยะการใช้ไมโครโฟนให้เหมาะสมสมอ บางทีพูดๆไปเสียงลมจากการเปิดปากพูด หรือเสียงลมหายใจจะออกมาชัดเจน ต้องใช้วิธีดึงไมโครโฟนออกห่างจากปากสักหน่อยแล้วพูด หรือถ้าเป็นไมค์ลอยลักษณะการถือมักจะต้องจับไมโครโฟนเกือบขนานกับพื้นเสียงจึงจะออกมาชัดเจน
3) ต้องสังเกตว่า สวิชท์เปิดปิดไมโครโฟนอยู่ตรงไหน ก่อนพูดต้องเปิดให้เรียบร้อยและพูดจบต้องปิดให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันเสียงอื่นๆแทรกขณะไม่ได้ใช้ไมโครโฟน นอกจากนี้ขาตั้งไมค์จะมีหลายแบบท่านต้องศึกษาจากผู้ควบคุมเสียงว่าจะเลื่อนขึ้นลงอย่างไร บางรุ่นจะใช้วิธีหมุนเกลียว บริเวณขาไมค์ บางรุ่นจะใช้วิธียกที่ข้อต่อ ท่านต้องสอบถามให้แน่ชัด
4) เมื่อเริ่มต้นพูดอย่าทดลองเสียงด้วย คำว่า "ฮัลโหล...ฮัลโหล" หรือเคาะ หรือเป่าลมใส่ไมโครโฟนเป็นอันขาด ควรพูดออกไปเลยว่า "สวัสดีค่ะ (ครับ)" และนี้เองที่ท่านจะเป็นต้องมาถึงงานก่อนเวลาเริ่มงานเพื่อทดสอบความพร้อมของไมโครโฟน
5) เมื่อพูดจบแต่ละช่วงหากท่านจำเป็นต้องยืนอยู่บนเวที และต้องถือไมโครโฟนไว้ ควรถือไว้ระดับเอว อย่ายืนถือแบบตามสบายโดยหย่อนข้างลำตัว พราะจะทำให้ดูบุคลิกภาพไม่ดี
และนี่คือเรื่องราวของเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ เที่ยวกับการใช้ไมค์โครโฟน ซึ่งพิธีกรทุกคนควรจะทราบ เพราะสิ่งเล็กๆ น้อย ๆ เหล่านี้อาจจะสร้างความสำเร็จและความล้มเหลวให้พิธีกรได้เช่นนั้น
Wednesday, September 2, 2009
ประสบการณ์ในการเป็นพิธีกร
บี จุฑามาศ
คนเราเมื่อทำอะไรแล้วประสบผลสำเร็จ แม้แต่เป็นเรื่องเล็กๆ เราก็ต้องภูมิใจในตัวเองไว้ก่อน เพราะมันจะเป็นการสร้างกำลังใจที่ดีให้กับตัวเอง และเป็นการคิดในแง่บวก (positive thinking) ทำให้เราไม่ท้อถอยเมื่อเจออุปสรรคต่างๆ คะ
เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 10 มีนาคม 2551 ดิฉันก็มาทำงานตามปกติเหมือนอย่างทุกวัน พอมาถึง ปุ๊บ หัวหน้าของดิฉัน หรือ พี่แป๊ด (ที่ทุกท่านคงรู้จักกันดี) ก็พูดขึ้นปุ๊บว่า "บีวันนี้เป็นพิธีกร ด้วยนะ" ดิฉันก็คิดในใจทันที "ซวยแล้วเรา ยังไม่ได้เตรียมเป็นพิธีกรมาเลย อืม...เมื่อวานก็ลืมถามพี่เค้าด้วยว่าจะให้เราเป็นพิธีกรหรือเปล่า" แต่ก็ได้รับปากพี่เค้าไป เพราะคิดว่ายังงัยเราก็ต้องทำให้ได้ (The Show must go on) หลังจากนั้น ก็เลยรีบหยิบตัวโครงการฯ เพื่อจะร่างคำกล่าวเปิด และก็ฝึกพูดอีกนิดหน่อย เพราะมีเวลาไม่มากนักคะ
ก่อนอื่น ก็ขอเล่าความเป็นมาซักนิดนึงก่อนนะคะ เพื่อให้ทุกท่านไม่งงไปมากกว่านี้ คือ วันที่ 10 มีนาคม 2551 เวลา 13.00 - 16.00 น. เป็นวันที่ คณะวิทยาศาสตร์ ได้กำหนดให้มีเวทีเล่าสู่กันฟังในหัวข้อ " การจัดการความรู้กับการจัดการชุมชน ของ อบต.ท่าข้าม" เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ได้ไปศึกษาดูงาน ได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์จากตัวแทนกลุ่มที่ไม่ได้ไปศึกษาดูงานที่ อบต.ท่าข้าม คะ ซึ่ง ในวันนั้น ทางคณะวิทยาศาสตร์ ก็ได้เชิญท่านนายก อบต.ท่าข้าม มาร่วมกิจกรรมดังกล่าวด้วย ซึ่ง ดิฉันรับหน้าที่เป็นพิธีกรในหลักสูตรนี้ (อย่างที่กล่าวไว้ตอนเริ่มต้น)
สำหรับบรรยากาศของกิจกรรมในวันนั้นก็เป็นไปด้วยความสนุกสนานมาก เพราะตัวแทนของแต่ละกลุ่มที่ได้ไปศึกษาดูงาน ต่าง Present กันอย่างสนุกสนาน โดยเฉพาะ กลุ่มที่ 1 ซึ่งตัวแทนภายในกลุ่มจะประกอบด้วย คุณธนทรัพย์ฯ , คุณจีราณีฯ และ คุณจุรีรัตน์ฯ ซึ่งแต่ละคน บอกได้เลยว่าพูดเก่งๆ กันทุกคน โดยเฉพาะคุณธนทรัพย์ฯ คะ ซึ่งทำหน้าที่ เป็นนักประชาสัมพันธ์ ของคณะวิทยาศาสตร์ เป็นคนที่พูดเก่ง และพูดได้เป็นธรรมชาติมาก (อยากพูดเก่งเหมือนพี่เค้ามั่งจัง) ทำให้บรรยากาศภายในงานมีแต่ความสนุกสนาน ในส่วนของท่าน นายก อบต.ท่าข้าม ดิฉันก็ประทับใจท่านเป็นอย่างมาก เพราะท่านได้ให้แง่คิดดีๆ เกี่ยวกับการจัดการความรู้ไว้หลายแง่คิด พอจะสรุปได้ดังนี้นะคะ
- ท่านบอกว่า ที่ อบต. ท่าข้าม นั้น ท่านบริหารงานแบบที่ให้ความสำคัญกับประชาชนทุกคน ทุกคนเสมอภาคต่อกัน และท่านก็เป็นคนทำงานแบบจริงจัง ไม่ใช่ทำงานแบบเรื่อยๆ เช้าชาม เย็นชาม โดยท่านให้เหตุผลว่า นายก อบต. มีวาระการทำงานแค่วาระละ 4 ปี ถ้าทำดีก็อาจจะได้เลือกให้เป็นนายก อบต. ต่อ หรือ ถ้าทำไม่ดีก็อาจจะไม่ได้รับเลือกมารับหน้าที่ต่อไป ดังนั้น ใน 4 ปี นี้ ท่านจะต้องรีบพัฒนา อบต. ท่าข้าม ให้พัฒนาในเรื่องต่างๆ ให้ได้ ซึ่งเมื่อได้ยินท่านพูดแบบนี้แล้ว ดิฉันก็เกิดความประทับใจในตัวท่านมาก เพราะท่านเป็นคนที่ลุยกับงาน จริงจัง และเป็นผู้นำที่ดีของประชาชน คงเป็นเพราะแบบนี้ จึงทำให้ท่านได้ใจประชาชนไปเต็มๆ จนได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง นายก อบต. ท่าข้าม 3 วาระด้วยกัน จึงทำให้ดิฉันนึกกลับไปว่า ทำมัย อบต. ที่บ้านของดิฉันเอง ถึงไม่พัฒนาเหมือนที่ อบต. ท่าข้ามบ้าง ทั้งๆ ที่ก็อยู่ไม่ห่างไกลกันเลย ถ้า อบต. ที่บ้านของดิฉัน เข้มแข็งให้ได้อย่าง อบต.ท่าข้ามสักครึ่งนึงก็คงจะดีไม่น้อย.....(แหะๆๆ ว่าบ้านเกิดตัวเองซะแว้วววว)
- แง่คิดสุดท้ายที่ท่าน นายก อบต.ท่าข้าม ได้ให้ไว้ ก็คือ ถ้าคณะวิทยาศาสตร์ จะทำให้การจัดการความรู้บังเกิดผล นั้น ทุกคนจะต้องปรับแนวคิดของตัวเอง และเปิดใจยอบรับ ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์ ก็ต้องดึงทุกคนให้มามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ ให้ได้ เพราะถ้าทุกคนไม่มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และต่างคิดว่า เป็นการเพิ่มภาระงานให้กับตัวเอง ก็จะทำให้การจัดการความรู้ภายในคณะวิทยาศาสตร์ ไม่บังเกิดผลอย่างแน่นอน...
วกมาเรื่องของดิฉันอีกสักนิดนะคะ สำหรับดิฉันที่วันนี้ได้ทำหน้าที่เป็นพิธีกร ก็รู้สึกว่าตัวเองได้พัฒนาความสามารถในการเป็นพิธีกรขึ้นมาอีกระดับนึงคะ เพราะวันนี้ดิฉันเป็นพิธีกรที่พูดเป็นธรรมชาติมากขึ้น มีการพูดแซวคน Present บ้าง เป็นบางครั้ง จึงทำให้บรรยากาศภายในงานดีขึ้นกว่าเดิม ที่ดิฉันบอกว่าได้พัฒนาความสามารถในการเป็นพิธีกรอีกระดับนึง ก็เพราะ เมื่อก่อนดิฉันเป็นพิธีกรที่พูดได้ฟืดมากคะ ไม่มีมุขขำอะไรเลย ทำให้ไม่มีสีสัน และเป็นพิธีกรที่พูดตาม Script เกือบทุกอย่าง จึงทำให้บรรยากาศดูเคร่งเครียด อึมครึมไป ซึ่งอาจจะเป็นเพราะนิสัยส่วนตัวของดิฉันเองด้วย ที่เป็นคนนิ่งๆ เงียบ ๆ ไม่ค่อยพูด ถ้าไม่สนิทกับใครจริงๆ ก็จะไม่ปล่อยลูกบ้าออกมา ก็เลยทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเป็นพิธีกรที่ดีบ้างเหมือนกันคะ ดังนั้น เมื่อดิฉันได้พัฒนาความสามารถในการเป็นพิธีกรได้ดีขึ้น ก็ทำให้ดิฉันเกิดความภูมิใจในตัวเอง เพราะถึงจะเป็นแค่เรื่องภูมิใจ เรื่องเล็กๆ ก็ตาม แต่ดิฉันก็คิดเสมอว่า คนเราเมื่อทำอะไรแล้วประสบผลสำเร็จ แม้แต่เป็นเรื่องเล็กๆ เราก็ต้องภูมิใจในตัวเองไว้ก่อน เพราะมันจะเป็นการสร้างกำลังใจที่ดีให้กับตัวเอง และเป็นการคิดในแง่บวก(positive thinking)ทำให้เราไม่ท้อถอยเมื่อเจออุปสรรคต่างๆ คะ
ถึงการเป็นพิธีกรของดิฉันในวันนี้จะตะกุกตะกัก , ผิดพลาดไปบ้าง เนื่องจากได้ฝึกซ้อมมาน้อย แต่ดิฉันก็ไม่ซีเรียสอะไรหรอกนะคะ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องปกติของมือใหม่หัดเป็นพิธีกร มันก็ต้องผิดพลาดกันบ้างเป็นธรรมดา ก็เลยอยากจะฝากท่านอื่นไว้นะคะ ที่อาจจะเป็นพิธีกรมือใหม่ ว่า ก่อนวันที่ท่านจะต้องเป็นพิธีกร ท่านต้องฝึกพูดให้คล่อง , กำหนดการต้องแม่น และฝึกยิ้มให้เยอะๆนะคะ เพราะถ้าท่านฝึกพูดไว้เยอะๆ ก็จะทำให้ความผิดพลาดในการเป็นพิธีกรของท่าน มีเปอร์เซ็นต์น้อยลง หรือท่านอาจจะไม่ผิดพลาดเลยก็ได้คะ ส่วนในเรื่องของกำหนดการที่บอกว่าต้องแม่น เนื่องจากจะช่วยให้ท่านลำดับขั้นตอนได้ว่า ต่อไปจะเป็นกิจกรรมอะไร ท่านต้องดำเนินรายการอย่างไร เพราะบางท่านอาจจะตื่นเวทีจนทำให้ลืมขั้นตอนไปได้คะ ส่วนการฝึกยิ้มให้เยอะๆ ก็เพราะจะเป็นการสร้างบรรยากาศภายในงานให้ดีขี้นคะ และยังเป็นแสดงถึงการต้อนรับผู้มาเข้าร่วมงานในทางอ้อมด้วยนะคะ.. สำหรับบันทึกฉบับนี้ ก็ขอฝากไว้แค่นี้ก่อนนะคะ พบกันใหม่ในบันทึกฉบับต่อไปคะ..สวัสดีคะ
ตัวอย่างโครงสร้างการพูดในงานต่างๆ
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารเมืองพัทยา
ต่อไปนี้เป็นเพียงแนวทางโครงสร้่างการพูดในงานลักษณะต่างๆ เพื่อให้ท่านได้ศึกษาเป็นข้อมูลในการวางแผนการทำหน้าที่พิธีกร ซึ่งผู้เขียนได้เรียงตามลำดับขั้นตอนจากเริ่มต้นจนสิ้นสุดในแต่ละงานเพื่อง่ายแก่การเข้าใจ
การพูดในงานแต่งงาน
1) เชิญคู่บ่าวสาวบนเวที
2) เชิญบิดา-มารดาของคู่บ่าวสาวขึ้นบนเวที
3) เชิญผู้สวมมาลัยมงคลขึ้นสวมมาลัยแก่คุ่บ่าวสาว
4) เชิญประธานในงาน(ซึ่งโดยปกติมักจะเป็นท่านเดียวกับข้อ 3) กล่าวอำนวยพร
5) เชิญเจ้าภาพกล่าวคำอวยพร(อาจจะเป็นบิดา-มารดาของฝ่ายใดก็ได้ หรือบางงานจะมีผู้ใหญ่ซึ่งคู่บ่าวสาวเชิญไว้เป็นผู้กล่าว
หมายเหตุ โครงการพูดจาอาจยืดหยุ่นตามใจเจ้าของงาน แต่ควรแนะนำเจ้าภาพว่าไม่ควรยืดเยื้อ หากมีการตัดเค้กต้องดำเนินการหลังคู่บ่าวสาวกล่าวจบ
การพูดในงานเกษียณอายุ
1) เชิญผู้เกษียณอายุขึ้นบนเวที
2) เชิญประธานในงานกล่าว(หากมีผู้พูดมากว่า 1 ท่าน ให้พูดต่อจากประธานเลย)
3) เชิญผู้มอบดอกไม้/ของขวัญทำพิธีมอบ
4) เชิญผู้เกษียณอายุกล่าวขอบคุณ
หมายเหตุ หากมีพิธีกรอื่นใดเป็นพิเศษ พิธีกรต้องปรับและสอดแทรกให้เหมาะสมแต่โครงสร้างที่นำเสนอนี้เป็นเพียงคร่าวๆ
การพูดในการแนะนำผู้อื่นพูดอื่น (ผู้อภิปราย/ผู้บรรยาย/วิทยากร)
1) หากมีการกล่าวประวัติของผู้ที่จะพูด ควรอ่านประวัติก่อนอย่าเพิ่งเอ่ยชื่อ-สกุล เมื่ออ่านจบจึงอ่านจบจึงเอ่ย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเน้นความสำคัญแก่ผู้นั้น และยังเป็นช่วงให้ผู้ฟังปรบมือต้อนรับ
2) หากกรณีเป็นพิธีกรในการอภิปรายควรแนะนำเฉพาะผู้ดำเนินการอภิปรายเ่ท่านั้นเพราะหน้าที่แนะนำองค์อภิปรายอื่นเป็นหน้าที่ของผู้ดำเนินการอภิปราย ยกเว้นผู้ดำเนินการอภิปรายร้องขอ
3) เมื่อผู้พูดทั้งหลายพูดจบ ไม่ควรพูดว่า “ขอเชิญท่านปรบมือให้แ่ก่ท่านวิทยากรอีกครั้งค่ะ(ครับ)”ไม่ แต่พิธีกรควรพูดเพียงว่า “ขอบพระคุณค่ะ(ครับ)” แล้วปรบมือนำทุกคนก็จะปรบตามจะดูดีและเป็นธรรมชาติกว่า
การพูดในงานฌาปนกิจศพ
1) กรณีเป็นการพระราชทานเพลิงศพ จะมีลำดับขั้นตอนการพูดค่อนข้างตายตัว กรุณาดูเพิ่มเติมท้ายเรื่อง
2) กรณีงานฌาปนกิจศพ จะมีโครงสร้่างการพูด ดังนี้
2.1 กล่าวประวัติผู้วายชนม์
2.2 เชิญชวนให้ยืนไว้อาลัย
2.3 กล่าวนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นพิจารณาผ้าบังสุกุล
2.4 กล่าวนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นประชุมเพลิง
2.5 กล่าวเชิญฆราวาสขึ้นประชุมเพลิง
2.6 กล่าวขอบคุณผู้ร่วมงาน
โครงสร้างการพูดมีลักษณะหลากหลาย บางงานอาจจะมีลักษณะเฉพาะตัว แต่โดยส่วนใหญ่จะมีหลักการเีดียวกัน จึงขอนำเสนอเพียงบางตัวอย่างเท่านั้น
ต่อไปนี้เป็นเพียงแนวทางโครงสร้่างการพูดในงานลักษณะต่างๆ เพื่อให้ท่านได้ศึกษาเป็นข้อมูลในการวางแผนการทำหน้าที่พิธีกร ซึ่งผู้เขียนได้เรียงตามลำดับขั้นตอนจากเริ่มต้นจนสิ้นสุดในแต่ละงานเพื่อง่ายแก่การเข้าใจ
การพูดในงานแต่งงาน
1) เชิญคู่บ่าวสาวบนเวที
2) เชิญบิดา-มารดาของคู่บ่าวสาวขึ้นบนเวที
3) เชิญผู้สวมมาลัยมงคลขึ้นสวมมาลัยแก่คุ่บ่าวสาว
4) เชิญประธานในงาน(ซึ่งโดยปกติมักจะเป็นท่านเดียวกับข้อ 3) กล่าวอำนวยพร
5) เชิญเจ้าภาพกล่าวคำอวยพร(อาจจะเป็นบิดา-มารดาของฝ่ายใดก็ได้ หรือบางงานจะมีผู้ใหญ่ซึ่งคู่บ่าวสาวเชิญไว้เป็นผู้กล่าว
หมายเหตุ โครงการพูดจาอาจยืดหยุ่นตามใจเจ้าของงาน แต่ควรแนะนำเจ้าภาพว่าไม่ควรยืดเยื้อ หากมีการตัดเค้กต้องดำเนินการหลังคู่บ่าวสาวกล่าวจบ
การพูดในงานเกษียณอายุ
1) เชิญผู้เกษียณอายุขึ้นบนเวที
2) เชิญประธานในงานกล่าว(หากมีผู้พูดมากว่า 1 ท่าน ให้พูดต่อจากประธานเลย)
3) เชิญผู้มอบดอกไม้/ของขวัญทำพิธีมอบ
4) เชิญผู้เกษียณอายุกล่าวขอบคุณ
หมายเหตุ หากมีพิธีกรอื่นใดเป็นพิเศษ พิธีกรต้องปรับและสอดแทรกให้เหมาะสมแต่โครงสร้างที่นำเสนอนี้เป็นเพียงคร่าวๆ
การพูดในการแนะนำผู้อื่นพูดอื่น (ผู้อภิปราย/ผู้บรรยาย/วิทยากร)
1) หากมีการกล่าวประวัติของผู้ที่จะพูด ควรอ่านประวัติก่อนอย่าเพิ่งเอ่ยชื่อ-สกุล เมื่ออ่านจบจึงอ่านจบจึงเอ่ย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเน้นความสำคัญแก่ผู้นั้น และยังเป็นช่วงให้ผู้ฟังปรบมือต้อนรับ
2) หากกรณีเป็นพิธีกรในการอภิปรายควรแนะนำเฉพาะผู้ดำเนินการอภิปรายเ่ท่านั้นเพราะหน้าที่แนะนำองค์อภิปรายอื่นเป็นหน้าที่ของผู้ดำเนินการอภิปราย ยกเว้นผู้ดำเนินการอภิปรายร้องขอ
3) เมื่อผู้พูดทั้งหลายพูดจบ ไม่ควรพูดว่า “ขอเชิญท่านปรบมือให้แ่ก่ท่านวิทยากรอีกครั้งค่ะ(ครับ)”ไม่ แต่พิธีกรควรพูดเพียงว่า “ขอบพระคุณค่ะ(ครับ)” แล้วปรบมือนำทุกคนก็จะปรบตามจะดูดีและเป็นธรรมชาติกว่า
การพูดในงานฌาปนกิจศพ
1) กรณีเป็นการพระราชทานเพลิงศพ จะมีลำดับขั้นตอนการพูดค่อนข้างตายตัว กรุณาดูเพิ่มเติมท้ายเรื่อง
2) กรณีงานฌาปนกิจศพ จะมีโครงสร้่างการพูด ดังนี้
2.1 กล่าวประวัติผู้วายชนม์
2.2 เชิญชวนให้ยืนไว้อาลัย
2.3 กล่าวนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นพิจารณาผ้าบังสุกุล
2.4 กล่าวนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นประชุมเพลิง
2.5 กล่าวเชิญฆราวาสขึ้นประชุมเพลิง
2.6 กล่าวขอบคุณผู้ร่วมงาน
โครงสร้างการพูดมีลักษณะหลากหลาย บางงานอาจจะมีลักษณะเฉพาะตัว แต่โดยส่วนใหญ่จะมีหลักการเีดียวกัน จึงขอนำเสนอเพียงบางตัวอย่างเท่านั้น
พิธีกรงานแต่งงานแบบมุกตลก
เคยไปงานนึงนึกว่าไปดูตลกคาเฟ่ พิธีกรตลกมากเลย เรียกเสียงฮาได้ แต่เขาก็จะฮาบ้างพิธีการบ้าง สรุปแล้วประทับใจค่ะงานนี้ แบบว่ามีคนไปจองตัวพิธีกรคนนี้ให้ไปงานถัดไปเลย
ก็จะยกตัวอย่างให้ดู
ขึ้นเวทีตอนแรกก็สวัสดีแขกทุกท่าน และแนะนำตัวคุณว่าเป้นใคร ถ้าคุณเป็นเพื่อนกับทั้งเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาว ก็บอกไปและบอกว่าทำไมคุณถึงได้เชิญมาเป้นพิธีกร อาจจะแทรกมุจตลกตรงนี้ได้เช่น เจ้าบ่าวหมดงบเลยเอามาเป็นพิธีกรเพราะเชิญคุณฟรีแถมได้ค่าซองอีก หรือ คุณเป็นเพื่อนสนิทเพื่อนซี้กับเจ้าบ่าวเจ้าสาวและไม่ยอมเด็ดขาดถ้าไม่เชิญคุณมาเป้นพิธีกร หลังจากที่ขู่กรรโชกมาร่วมเดือนก็ทำสำเร็จ
พอแนะนำตัวและทุกอย่างเสร็จ มันจะถึงฤกษ์ที่จะต้องก็เชิญเจ้าบ่าวกับเจ้าสาวขึ้นมาบนเวที และประธาน ตรงนี้ก็อาจจะแทรกอะไรน่ารักๆตรงที่ พอทั้งเจ้าบ่าวกับเจ้าสาวขึ้นมาบนเวทีเรียบร้อยแล้ว คุณก็บอกว่า ขอแนะนำคู่รักที่หวานแหววที่สุดแห่งปี คุณ......และ คุณ .......ตรงที่เชิญประธานก็เอาแบบพิธีการหน่อย ต้องสุขุม จากนั้นก็ให้ประธานขึ้นกล่าวสุนทรพจน์กับแขก ก็บอกว่า เรียนเชิญคุณ.......ขึ้นกล่าวอวยพรแก่เจ้าบ่าวและเจ้าสาวครับ/ค่ะ พอกล่าวเสร็จไชโยๆๆ เสร็จก็กล่าวขอบคุณท่านประธาน
มาถึงตรงนี้ก็กลับมาเป้นแบบสบายๆ กันบ้าง ก็หันมาคุยกับเจ้าบ่าวเจ้าสาวตามแบบฉบับว่าไปเจอกันมาได้ยังไงและรักกันมากี่ปี อยากบอกอะไรกับคู่รักทุกคู่ในงานนี้ไหมจากนั้นก็เปลี่ยนมาบอกว่า งั้นอยากฟังบ้างว่าแขกๆที่มาในงานนี้รู้สึกยังไง ก็ให้แฟนคุณที่เป้นพิธีกรคู่ลงไปสัมภาษณ์ญาติๆเพื่อนๆ
ก่อนอื่นต้องไปที่เพื่อนก่อนสัก 3 คน ก็ไปสัมภาษณ์ประมาณว่า เป็นเพื่อนกับใคร ถามว่าอาหารอร่อยไหม อยากบอกอะไรกับเจ้าบ่าวเจ้าสาวไหม หรือถามอะไรก็ได้ที่คิดว่าเขาจะตอบตลกๆ สุดท้ายก็ขาดไม่ได้คือเดินไปที่พ่อของทั้งสองฝ่ายแล้วถามว่า อยากจะบอกอะไรกับคู่รักทั้งสอง
พอถามเสร็จก็ขึ้นมาบนเวที และให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวกล่าวอะไรสักหน่อยกับแขกทั้งหมดที่อยู่ในห้องนี้ สุดท้ายก็บอกถ้าคิดว่ามันจะไม่เห่ยเกินไป ให้เจ้าบ่าวกับเจ้าสาวหอมแก้มกัน หรือ ถ้าเกิดทั้งสองเตรียมเพลงมาร้องให้ผู้ชม (ตรงนี้อาจจะเป็นไฮไลท์ของงาน)ก็บอกว่า ขอปิดท้ายตรงนี้ด้วยเพลงจากคู่รักที่หวานแหววที่สุดแห่งปีจบ
เอาไปลองดู อันนี้แค่เสนอค่ะ
.......................
มีคำอยู่ 3 คำสำหรับชีวิตแต่งงานครับ....(ลอกงานตัวเองมาไม่ถูกทั้งหมดนะครับ เพราะผมมั่วเพิ่ม)
แข็ง ใหญ่ ยาว
1.ขอให้คู้บ่าวสาวมีจิตใจที่เข้มแข็ง เพราะอุปสรรคมันเกิดขึ้นเสมอ ไม่ว่าในงานหรือชีวิตครอบครัว ให้ช่วยกันประคองจนกว่าจะข้ามไปได้
2.ให้มีใจที่ยิ่งใหญ่ ...คือ มีใจในการให้อภัย เรื่องเล็กเรื่องน้อย ก็ให้อภัยกันและกัน เพราะครอบครัวจะอยู่กันได้ยืนยาวก็ต่อเมื่อรู้จักให้อภัย และคนทุกคนย่อมเคยทำความผิด (และอะไรต่อมิอะไรไปดำน้ำเอา)
3.ให้มองให้ยาว มองให้ไกล ซึ่งจากที่มองดูเจ้าสาว/บ่าว ก็มีสายตายาวไกลกันทั้งคู่ เพราะดูจากการเลือกคู่....(มั่วเอานะ).. และการวางแผนของครอบครัวในอนาคต ย่อมสามารถลดปัญหาในการดำเนินชีวิตได้ ไม่ต้องเป็นหนี้เป็นสินโดยไม่จำเป็น.....ประมาณนี้
หรือไม่ก็แต่งเพิ่มได้ครับจาก แข็ง ใหญ่ ยาวหรือจะเป็น เล็ก อ่อน สั้น
เล็ก-รู้จักประหยัดมัธยัสถ์ตามอัตภาพ นกน้อยทำรังแต่พอตัว
อ่อน-อ่อนให้แก่กัน พูดจาไพเราะปิยะวาจา
สั้น-รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ
.........
ก็จะยกตัวอย่างให้ดู
ขึ้นเวทีตอนแรกก็สวัสดีแขกทุกท่าน และแนะนำตัวคุณว่าเป้นใคร ถ้าคุณเป็นเพื่อนกับทั้งเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาว ก็บอกไปและบอกว่าทำไมคุณถึงได้เชิญมาเป้นพิธีกร อาจจะแทรกมุจตลกตรงนี้ได้เช่น เจ้าบ่าวหมดงบเลยเอามาเป็นพิธีกรเพราะเชิญคุณฟรีแถมได้ค่าซองอีก หรือ คุณเป็นเพื่อนสนิทเพื่อนซี้กับเจ้าบ่าวเจ้าสาวและไม่ยอมเด็ดขาดถ้าไม่เชิญคุณมาเป้นพิธีกร หลังจากที่ขู่กรรโชกมาร่วมเดือนก็ทำสำเร็จ
พอแนะนำตัวและทุกอย่างเสร็จ มันจะถึงฤกษ์ที่จะต้องก็เชิญเจ้าบ่าวกับเจ้าสาวขึ้นมาบนเวที และประธาน ตรงนี้ก็อาจจะแทรกอะไรน่ารักๆตรงที่ พอทั้งเจ้าบ่าวกับเจ้าสาวขึ้นมาบนเวทีเรียบร้อยแล้ว คุณก็บอกว่า ขอแนะนำคู่รักที่หวานแหววที่สุดแห่งปี คุณ......และ คุณ .......ตรงที่เชิญประธานก็เอาแบบพิธีการหน่อย ต้องสุขุม จากนั้นก็ให้ประธานขึ้นกล่าวสุนทรพจน์กับแขก ก็บอกว่า เรียนเชิญคุณ.......ขึ้นกล่าวอวยพรแก่เจ้าบ่าวและเจ้าสาวครับ/ค่ะ พอกล่าวเสร็จไชโยๆๆ เสร็จก็กล่าวขอบคุณท่านประธาน
มาถึงตรงนี้ก็กลับมาเป้นแบบสบายๆ กันบ้าง ก็หันมาคุยกับเจ้าบ่าวเจ้าสาวตามแบบฉบับว่าไปเจอกันมาได้ยังไงและรักกันมากี่ปี อยากบอกอะไรกับคู่รักทุกคู่ในงานนี้ไหมจากนั้นก็เปลี่ยนมาบอกว่า งั้นอยากฟังบ้างว่าแขกๆที่มาในงานนี้รู้สึกยังไง ก็ให้แฟนคุณที่เป้นพิธีกรคู่ลงไปสัมภาษณ์ญาติๆเพื่อนๆ
ก่อนอื่นต้องไปที่เพื่อนก่อนสัก 3 คน ก็ไปสัมภาษณ์ประมาณว่า เป็นเพื่อนกับใคร ถามว่าอาหารอร่อยไหม อยากบอกอะไรกับเจ้าบ่าวเจ้าสาวไหม หรือถามอะไรก็ได้ที่คิดว่าเขาจะตอบตลกๆ สุดท้ายก็ขาดไม่ได้คือเดินไปที่พ่อของทั้งสองฝ่ายแล้วถามว่า อยากจะบอกอะไรกับคู่รักทั้งสอง
พอถามเสร็จก็ขึ้นมาบนเวที และให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวกล่าวอะไรสักหน่อยกับแขกทั้งหมดที่อยู่ในห้องนี้ สุดท้ายก็บอกถ้าคิดว่ามันจะไม่เห่ยเกินไป ให้เจ้าบ่าวกับเจ้าสาวหอมแก้มกัน หรือ ถ้าเกิดทั้งสองเตรียมเพลงมาร้องให้ผู้ชม (ตรงนี้อาจจะเป็นไฮไลท์ของงาน)ก็บอกว่า ขอปิดท้ายตรงนี้ด้วยเพลงจากคู่รักที่หวานแหววที่สุดแห่งปีจบ
เอาไปลองดู อันนี้แค่เสนอค่ะ
.......................
มีคำอยู่ 3 คำสำหรับชีวิตแต่งงานครับ....(ลอกงานตัวเองมาไม่ถูกทั้งหมดนะครับ เพราะผมมั่วเพิ่ม)
แข็ง ใหญ่ ยาว
1.ขอให้คู้บ่าวสาวมีจิตใจที่เข้มแข็ง เพราะอุปสรรคมันเกิดขึ้นเสมอ ไม่ว่าในงานหรือชีวิตครอบครัว ให้ช่วยกันประคองจนกว่าจะข้ามไปได้
2.ให้มีใจที่ยิ่งใหญ่ ...คือ มีใจในการให้อภัย เรื่องเล็กเรื่องน้อย ก็ให้อภัยกันและกัน เพราะครอบครัวจะอยู่กันได้ยืนยาวก็ต่อเมื่อรู้จักให้อภัย และคนทุกคนย่อมเคยทำความผิด (และอะไรต่อมิอะไรไปดำน้ำเอา)
3.ให้มองให้ยาว มองให้ไกล ซึ่งจากที่มองดูเจ้าสาว/บ่าว ก็มีสายตายาวไกลกันทั้งคู่ เพราะดูจากการเลือกคู่....(มั่วเอานะ).. และการวางแผนของครอบครัวในอนาคต ย่อมสามารถลดปัญหาในการดำเนินชีวิตได้ ไม่ต้องเป็นหนี้เป็นสินโดยไม่จำเป็น.....ประมาณนี้
หรือไม่ก็แต่งเพิ่มได้ครับจาก แข็ง ใหญ่ ยาวหรือจะเป็น เล็ก อ่อน สั้น
เล็ก-รู้จักประหยัดมัธยัสถ์ตามอัตภาพ นกน้อยทำรังแต่พอตัว
อ่อน-อ่อนให้แก่กัน พูดจาไพเราะปิยะวาจา
สั้น-รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ
.........
ทักษะการเป็นพิธีกร
โดย...นางสาววิธญาพร เอกหิรัณยราษฎร์
พิธีกร ภาษาอังกฤษใช้คำย่อว่า “MC” ซึ่งมาจากคำเต็มว่า “Master of Ceremonies” ไทยใช้คำว่า “พิธีกร” ซึ่งในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายไว้ว่า ผู้ดำเนินการในพิธี, ผู้ดำเนินรายการ ดังนั้น พิธีกร จึงเป็นผู้ที่ดำเนินการในงานพิธีการต่างๆ ตั้งแต่เริ่มงานจนจบงาน รู้ขั้นตอนของงาน สามารถจัดลำดับขั้นตอนของงานได้อย่างเหมาะสม และราบรื่นเรียบร้อยจนเสร็จงาน โดยเป็นผู้พูดสื่อสารกับผู้ได้รับเชิญกับแขกที่มาร่วมงาน หรือผู้เป็นวิทยากรกับผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา เป็นต้น
อีกความหมายหนึ่งจากพจนานุกรมว่า พิธีกร คือ ผู้ดำเนินการรายการก็แสดงว่าผู้ที่ต้องดำเนินรายการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อหน้าที่ประชุม หรือดำเนินรายการเพื่อออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ ในฐานะผู้ที่ทำหน้าที่สื่อสารกับผู้ที่ได้รับเชิญให้มาพูดคุยเรื่องราวต่างๆ หรือมาเพื่อแสดง หรือเพื่อปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งให้คนฟัง (หรือคนดู) ได้รู้ก็เป็นพิธีกรด้วย ดังนั้นผู้ที่ทำหน้าที่สัมภาษณ์บุคคลที่คนฟัง (หรือคนดู) สนใจ หรือผู้ที่พูดเพื่อดำเนินรายการเกมโชว์ต่างๆ ทางโทรทัศน์ก็ถือว่าเป็นพิธีกรด้วยตามความหมายของพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525
พิธีกร ต้องพูดอย่างเป็นพิธีการมากกว่าการพูดของโฆษกในงานพิธีการ โดยต้องพูดตามลำดับขั้นตอนของงานแต่ละโอกาสอย่างเหมาะสม ผู้เป็นพิธีกรจะต้องให้คนฟังเห็นตัว ดังนั้นการแต่งกายต้องสวยงามเหมาะกับโอกาสแต่ละงาน แม้จะไม่สวยหรือไม่หล่อแต่บุคลิกภาพจะต้องดูดี สง่าผ่าเผย จะต้องยืนในตำแหน่งที่ทุกคนในงานหรือในที่ประชุมเห็นได้ชัดเจน พิธีกรจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางสื่อสารระหว่างผู้จัดงาน เจ้าภาพ กับผู้รับเชิญมาพูดหรือรับเชิญมาปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างผู้รับเชิญมาพูดกับผู้ฟัง พิธีกรจะต้องเชิญผู้มาพูดตามลำดับอาวุโสของบุคคลอย่างเหมาะสม โดยรวบรวมรายชื่อผู้ออกมาพูดจากเจ้าของงาน พร้อมกับต้องมีรายละเอียดของผู้ที่จะออกมาพูด หรือออกมาปฏิบัติด้วย และถ้าเป็นไปได้ พิธีกรควรหาโอกาสสอบถามรายละเอียดส่วนตัวจากผู้ที่ได้รับเชิญออกมาพูดเพิ่มเติมได้ด้วยตนเองก็ยิ่งดี แล้วเลือกเฉพาะข้อมูลที่เข้ากับบรรยากาศของงาน เข้ากับเรื่องที่จะเชิญมาพูดอย่างเหมาะสมด้วย
พิธีกร เป็นบุคคลที่สำคัญในการดึงดูดความสนใจให้ผู้ฟัง หรือผู้ชมนั้น ติดตามในสิ่งที่พิธีกรต้องการนำเสนอ ตั้งแต่ต้นไปจนจบรายการ พิธีกรที่ดีจะต้องทำให้ผู้ฟังประทับใจในการดำเนินรายการให้ได้ ทั้งท่วงท่า วาจา กิริยาอาการต่างๆ ตลอดจนความสามารถในการทำให้ผู้ฟังมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของรายการและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ เป็นอย่างดี การเป็นพิธีกรนั้นถือว่าเป็นการเรียกความสนใจของคนทั่วไป ตั้งแต่ยังไม่ทันได้เห็นตัวผู้พูด เพราะเสียงของพิธีกรสามารถดึงดูดความสนใจของผู้คนได้ในระยะไกล เมื่อเป็นเช่นนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่พิธีกรจะต้องมีพลังเสียงที่น่าฟังสามารถสะกดผู้ฟังให้สนใจในสิ่งที่พิธีกรนำเสนอได้และจำเป็นต้องมีทักษะอื่นๆ ประกอบอีกหลายด้านด้วยกัน การเป็นพิธีกรจึงไม่ใช่ใครก็สามารถเป็นกันได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเสียทีเดียว หากเพียงฝึกฝนและปรับปรุงทักษะต่างๆ อยู่เสมอ สิ่งที่สำคัญในการเป็นพิธีกรคือการมีน้ำเสียงที่หนักแน่น ชัดเจน และน่าฟัง ไม่ใช่พูดเบาหรือค่อยจนเกินไป หรือพูดติดๆ ขัดๆ ไม่มีคำพูดติดปาก เช่น เอ้อ อ้า ครับ ค่ะ จึงต้องหมั่นฝึกฝนวิธีการพูด ทั้งการสะกด อักขระต่างๆ การออกเสียง ร ล ตัวควบกล้ำ ต้องชัดเจน น้ำเสียงต้องฟังง่ายและเป็นมิตรกับคนฟัง และยังต้องฝึกการพูดให้มีความเร็วที่เหมาะสม ไม่ช้าหรือเร็วจนเกินไป ควรฝึกกลั้นลมหายใจเพราะเวลาพูดต่อกันหลายประโยคนานๆ จะได้ไม่เหนื่อย เวลาพูดควรทำจิตใจให้เบิกบาน เสียงจะได้มีความแจ่มใส และควรจะมีรอยยิ้มอยู่ด้วยเสมอ สิ่งเหล่านี้จะเป็นเสน่ห์ของพิธีกร
สิ่งที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่งก็คือ การวางท่าทาง กิริยา บุคลิกลักษณะต่างๆ ต้องมีความมั่นใจ การยืนต้องสง่างาม การเดินต้องมีมาด ภาพพจน์โดยรวมต้องดูดี และเป็นไปในทางเดียวกันกับเรื่องราวที่พูดถึง หรือนำเสนออยู่ ใช้ลีลาประกอบให้เหมาะสม ควรฝึกหน้ากระจกเพื่อดูว่าตัวเราเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้ควรฝึกฝนให้เป็นนิสัย มีบุคลิกที่ดี น่าสนใจอยู่เสมอ การใช้สายตา เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องหมั่นฝึกให้มั่นคง เพราะเวลาพูดต้องมีสมาธิ แยกแยะให้ถูก ควรส่งสายตาไปยังผู้ฟัง ณ จุดใดจุดหนึ่ง อย่ากวาดสายตาไปมา แต่ควรใช้วิธีหันหน้าแทนเพื่อเปลี่ยนมุมมอง ไม่ควรทำตาหลุกหลิก หรือมองสิ่งอื่นที่ทำให้ไขว้เขว สบตากับผู้ฟังเป็นระยะระยะ และประสานสายตากับทีมงานบ้างเพื่อความเรียบร้อยของกำหนดการต่างๆ ว่าเป็นไปตามที่วางไว้หรือไม่ หรือหากต้องมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดกะทันหันจะได้เตรียมตัวได้ทัน
การเป็นพิธีกรที่ดี ที่สามารถดำเนินรายการได้น่าสนใจนั้น ต้องรู้จักวางตัวให้เหมาะสม ศึกษากลุ่มผู้ฟัง ความสนใจต่างๆ สร้างบรรยากาศที่ดีในการดำเนินรายการ สื่อสารกับผู้ฟังได้เป็นอย่างดี สร้างความเข้าใจที่ตรงกัน และให้เกียรติผู้ฟังเสมอ เทคนิคที่สำคัญก็คือ การทำตัวให้กลมกลืนกับผู้ฟัง เช่น เมื่อเป็นพิธีกรด้านกิจกรรมสันทนาการ ต้องวางบุคลิกท่าทางให้มีความกระฉับกระเฉง คล่องแคล่ว การแต่งกายต้องเหมาะสม ยิ้มแย้มแจ่มใส หากกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหารหรือกึ่งทางการ ก็ต้องแต่งกายให้ดูดี สุภาพ เน้นความสะอาด เรียบร้อย เป็นต้น พิธีกรที่ทำงานสำเร็จนั้นต้องทำให้การดำเนินรายการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเสมอ คือสามารถสื่อสารข้อมูลวัตถุประสงค์ของการจัดงาน และผู้ฟังหรือผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดงาน และสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังได้ รวมถึงสามารถทำให้ผู้ฟังติดตามชมตลอดจนจบรายการ พิธีกรที่ทำเช่นนี้ได้จึงจะถือว่าประสบความสำเร็จ และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะเหตุการณ์ไม่คาดคิดต่างๆ สามารถเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ ดังนั้นพิธีกรที่ดีจึงควรมีปฏิภาณไหวพริบต่างๆ ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และตรึงคนดูไว้ให้จดจ่ออยู่กับการนำเสนอรายการให้ได้ ไม่ว่าเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร พิธีกรที่ดีรู้ว่าควรจะจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ อย่างไร นอกจากนี้การจะเป็นพิธีกรที่มีความสามารถนั้นจำเป็นจะต้องศึกษาเทคนิคและวิธีการต่างๆและฝึกฝนตลอดเวลา
คำแนะนำสำหรับพิธีกรที่ดีมีดังนี้
1. ศึกษาจุดเด่น จุดด้อย ของพิธีกร ที่ชื่นชอบอะไรคือสิ่งที่ทำให้พิธีกรคนนั้นเป็นที่ชื่นชมของบุคคลทั่วไป แล้วลองนำเอาสิ่งที่คิดว่าดี มาประยุกต์ให้เหมาะกับตัวเอง
2. ติดตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างใกล้ชิด เพื่อทำตนเองให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
คำแนะนำสำหรับพิธีกรที่ดีมีดังนี้
1. ศึกษาจุดเด่น จุดด้อย ของพิธีกร ที่ชื่นชอบอะไรคือสิ่งที่ทำให้พิธีกรคนนั้นเป็นที่ชื่นชมของบุคคลทั่วไป แล้วลองนำเอาสิ่งที่คิดว่าดี มาประยุกต์ให้เหมาะกับตัวเอง
2. ติดตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างใกล้ชิด เพื่อทำตนเองให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
3. เรียนรู้การใช้เทคนิคการสร้างอารมณ์ขัน หรือเล่นมุข ด้วยการดัดแปลงเหตุการณ์เฉพาะหน้ามาเติมเสน่ห์ให้กับการดำเนินรายการ
4. จัดทำคลังความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น การใช้คำพูด สำนวน สุภาษิต คำพังเพย คำคมต่างๆ เก็บสะสมความรู้เหล่านี้ไว้เพื่อนำมาใช้ประกอบการดำเนินรายการ
5. ฝึกใช้ความคิดสร้างสรรค์ด้วยการมองเหตุการณ์ต่าง ๆ ในมุมที่คนอื่นมองข้าม แล้วสร้างให้เกิดเสียงหัวเราะและรอยยิ้ม
6. อ่านหนังสือให้มาก
7. เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับเรื่องการเป็นพิธีกรอย่างสม่ำเสมอ เพราะเป็นการพัฒนาความรู้ให้กับตนเองในแง่มุมของผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ที่มีความสนใจในด้านเดียวกัน ในมุมมองที่เราอาจจะนึกไม่ถึงก็ได้
7. เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับเรื่องการเป็นพิธีกรอย่างสม่ำเสมอ เพราะเป็นการพัฒนาความรู้ให้กับตนเองในแง่มุมของผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ที่มีความสนใจในด้านเดียวกัน ในมุมมองที่เราอาจจะนึกไม่ถึงก็ได้
นอกจากนี้ผู้ที่จะเป็นพิธีกรจำเป็นต้องฝึกฝนทักษะเหล่านี้ให้มาก ได้แก่ ทักษะในการพูดในโอกาสต่างๆ ทั้งคำทักทายหรือปฏิสันถาร คำกล่าวนำเพื่อโยงเข้าสู่เรื่องราวที่ต้องการนำเสนอ การพูดชื่อและตำแหน่งบุคคลสำคัญ การแจ้งกำหนดการต่างๆ การแนะนำวิทยากร การกล่าวสรุป และการกล่าวขอบคุณ ทั้งนี้ต้องปรับให้เหมาะสมกับตัวพิธีกรเอง และบรรยากาศของงานที่จัด ซึ่งแล้วแต่ความสามารถของแต่ละบุคคล ไม่จำเป็นต้องหน้าตาดี การเป็นพิธีกรจำเป็นจะต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ทักษะ และพรสวรรค์ต่างๆ มากมายดังที่กล่าวมา
ผู้ที่สนใจจะเป็นพิธีกรที่ดีสามารถเรียนรู้จากศาสตร์ คือหนังสือเกี่ยวกับการเป็นพิธีกร และฝึกปฏิบัติโดยการเข้าอบรมและนำไปใช้จริง คือ นำไปใช้เมื่อต้องปฏิบัติหน้าที่เป็นพิธีกรในงานต่างๆ ทั้งงานที่เป็นพิธีการกึ่งพิธีการ และงานที่ไม่เป็นพิธีการก็จะช่วยให้เกิดศิลป์ในการเป็นพิธีกร
..........................................................................................
หนังสืออ้างอิง
มัลลิกา คณานุรักษ์.2545.เทคนิคการเป็นพิธีกรที่ดี.กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วทัญญู มุ่งหมาย.2549. ผู้ประกาศและพิธีกรในการดำเนินรายการ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ยุดา รักไทย ปานจิตต์ โกญจนวรรณ. 2548. พูดอย่างชาญฉลาด. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.
นิเวศน์ กันไทยนราษฎร์. อยากเป็นพิธีกรดังฟังทางนี้. สุดสัปดาห์.
สืบค้น เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2550 จาก www.prettygang.com
มัลลิกา คณานุรักษ์.2545.เทคนิคการเป็นพิธีกรที่ดี.กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วทัญญู มุ่งหมาย.2549. ผู้ประกาศและพิธีกรในการดำเนินรายการ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ยุดา รักไทย ปานจิตต์ โกญจนวรรณ. 2548. พูดอย่างชาญฉลาด. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.
นิเวศน์ กันไทยนราษฎร์. อยากเป็นพิธีกรดังฟังทางนี้. สุดสัปดาห์.
สืบค้น เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2550 จาก www.prettygang.com
Subscribe to:
Posts (Atom)