โดยทั่วไปงานสังคมที่เราพบเห็นจะมีอยู่ 3 ประเภท คือ งานแบบเป็นพิธีการ งานแบบไม่เป็นพิธีการ และงานกึ่งพิธีการ ลักษณะของงานถูกจำแนกเป็นประเภทตามบรรยากาศและรูปแบบของงาน พิธีกรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ และแยกแยะได้ เพราะงานบางงานอาจจะมีลักษณะบรรยากาศผสมกลมกลืนกันทั้ง 3 ประเภท ในขณะที่บางงานจะมีบรรยากาศ และรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ชัดเจน การทำหน้าที่ของพิธีการในแต่ละบรรยากาศของงานจึงต้องแตกต่างกันออกไป
งานแบบพิธีการ
งานลักษณะนี้มักจะมีลำดับขั้นตอนของการดำเนินรายการอย่างเป็นรูปแบบที่เคร่งครัดทั้งในด้านเวลา คำพูดที่จะใช้ และขั้นตอนรายการ เช่น งานพระราชพิธีต่างๆ งานมอบประกาศเกียรติคุณ งานเปิดการฝึกอบรมหรือการประชุมที่เป็นทางการ ได้แก่ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น
ข้อแนะนำสำหรับพิธีกร
1) พิธีกรต้องมีความแม่นำในขั้นตอนการดำเนินรายการ เพราะงานแบบพิธีการจะผิดเพี้ยนไปไม่ได้เลย งานพิธีการจะมีกรอบโครงสร้างตายตัว ก่อนทำหน้าที่ควรศึกษาขั้นตอนว่า ใครจะต้องทำอะไร เมื่อไร และที่ไหน 2) ต้องทราบรายละเอียดของบุคคลที่จะต้องเอ่ยถึงในงานว่า ใครคือคนสำคัญที่สุดในงาน ใครเป็นประธานของงาน การเอ่ยชื่อ –สกุล ยศ ตำแหน่งต้องถูกต้อง
3) ควรไปถึงงานก่อนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบความพร้อมของงาน และประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องให้ชัดเจนอีกครั้ง และเพื่อกันความผิดพลาด
4) การแต่งกายของพิธีกรจะต้องเรียบร้อยถูกต้องกับลักษณะงาน เช่น การแต่งชุดข้าราชการเต็มยศหรือครึ่งยศ หรือชุดปกติกากีคอพับ หากเป็นงานราตรีก็ควรจะแต่งกายให้ดูดีเหมาะสมเหล่านี้เป็นต้น
5 )พิธีกรควรจัดทำ Script การดำเนินรายการให้ชัดเจน คำว่า Script มิได้หมายถึง กำหนดการจัดงาน แต่หมายถึงบทโดยละเอียดที่พิธีกรจะต้องทำรายละเอียดเพิ่มเติมโดยประสารกับผู้เกี่ยวข้อง หากมีฝ่ายจัดทำให้แล้ว พิธีกรจะต้องศึกษาให้แม่นยำอีกครั้ง
เพื่อให้ชัดเจนขึ้นจะขอยกตัวอย่างประกอบดังนี้
กำหนดการพิธีถวายเครื่องราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ณ ลานหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมืองพัทยา
วันที่ 28 ธันวาคม 2546
08.00 น.-ผู้แทนหน่วยงาน องค์กร และกลุ่มพลังต่างๆ ลงทะเบียน
08.30 น.-การแสดงศิลปะการต่อสู้จากวิทยาลัย พลศึกษาชลบุรี
09.00 น.-ผู้แทนหน่วยงาน องค์กร และกลุ่มพลังต่างๆ ตั้งแถว เพื่อเตรียมประกอบพิธี
09.15 น.-ผู้แทนหน่วยงาน องค์กร และกลุ่มพลังต่างๆ ถวายเครื่องราชสักการะ
10.00 น.-นายไพรัช สุทธิธำรงสวัสดิ์ นายกเมืองพัทยา ประธานในพิธีมาถึงบริเวณพิธี
วงดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์
ประธานขึ้นสู่บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ และประกอบพิธีถวายเครื่องราชสักการะ
ประธานกล่าวคำถวายราชสดุดี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช
10.15 น.-จบแล้ววงดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นอันเสร็จพิธี
Script ดำเนินรายการ
09.00 น. - เสียงฆ้องดัง 3 ครั้ง
- Sound ข้อความ...“เรียนท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ขณะนี้ใกล้เวลาที่จะประกอบพิธีถวายเครื่องราช สักการะ...ขอขอบคุณในความร่วมมือของทุกท่าน
09.15 น. - เสียงฆ้องดัง 3 ครั้ง
- พิธีกรประกาศ “ขณะนื้ได้เวลาประกอบพิธีถวาย เครื่องราชสักการะแด่ดวงทิพยวิญญาณแห่งองค์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้แล้วขอเรียนเชิญท่านผู้มีเกียรติ ผู้แทนหน่วยงาน องค์กรและภาคเอกชนเข้าถวาย เครื่องราชสักการะตามลำดับดังนี้...” (ตีฆ้องเป็น จังหวะให้สัญญาณตลอดพิธี)
10.00 น. - พิธีกรประกาศ “ขณะนี้ นายไพรัช สุทธิธำรง สวัสดิ์ นายกเมืองพัทยา ประธานในพิธีเดินทาง มาถึงบริเวณพิธีแห่งนี้แล้ว” - ประธานเดินออกมาหยุดยืนยังจุดที่กำหนดไว้
- การบรรเลงเพลงจบลง พิธีกรประกาศ “ลำดับนี้ ประธานจะประกอบพิธีถวายเครื่องราชสักการะแด่ดวงทิพยวิญญาณแห่งองค์สมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช ณ บัดนี้”
- เสียงฆ้องดัง 3 ครั้ง
- ประธานพร้อมเจ้าหน้าที่อัญเชิญเครื่องราช สักการะพุ่มดอกไม้สด มายืนยังจุดที่กำหนดให้
- ประธานและเจ้าน้าที่อัญเชิญฯ ถวายความเคารพพร้อมกัน
- ประธานและเจ้าหน้าที่อัญเชิญฯ เดินขั้นบันไดไปยืนหน้าแท่นวางเครื่องราชสักการะ
- ประธานถวายเครื่องราชสักการะพุ่มดอกไม้สด
- ประธานจุดธูปเทียน เครื่องทองน้อย กราบ 1 ครั้ง ไม่แบมือ
- ประธานและเจ้าหน้าที่อัญเชิญถวายความเคารพ พร้อมกันแล้วหันหลังกลับ เดินมายืนยังจุดที่กำหนดให้
- พิธีกรประกาศ “เพื่อน้อมรำลึกถึงพระวีรกรรมอันหาญกล้า ซึ่งทรงกระทำการเพื่อชาติ ศาสนา และ มหาชนอย่างแท้จริง นายกเมืองพัทยา ในนามพสกนิกรชาวเมืองพัทยา ทุกหมู่เหล่าจะได้กล่าวคำถวายราชสดุดี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช ณ บัดนี้”
- เสียงฆ้องดัง 1 ครั้ง
- ประธานออกมายืนยังจุดที่กำหนดให้และกล่าวคำถวายราชสดุดีฯ
- ประธานกล่าว... จนจบข้อความว่า"เพื่อเฉลิมพระเกียรติให้ไฟศาลตลอดกาลนานเทอญ”
10.15 น. - ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นอัน เสร็จพิธี
- ประธานและทุกคนถวายความเคารพพร้อมกัน
- เปิดเพลง “เจ้าตาก”
งานแบบไม่เป็นพิธีการ
งานลักษณะนี้จะไม่ค่อยเข้มงวดในด้านบรรยากาศของงานมากนัก จะเน้นความเป็นกันเองสอดแทรกด้วยความสนุกสนาน ขั้นตอนรายการก็อาจจะปรับยืดหยุ่นตามสถานการณ์ เช่น งานแต่งงาน งานเลี้ยงชุมนุมศิษย์เก่า งานเลี้ยงต้อนรับ งานเลี้ยงอำลา งานบันเทิงต่างๆ เป็นต้น
ข้อแนะนำสำหรับพิธีกร
1) งานแบบไม่เป็นพิธีการถึงแม้จะมีรูปแบบสบายๆ ไม่เคร่งครัดก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่พิธีกรจะต้องคำนึงเสมอ ก็คือ ขั้นตอนการดำเนินการ หรือขั้นตอนรายการ พิธีกรต้องวางขั้นตอนเหล่านี้อย่างเป็นระบบคร่าวๆ เพื่อให้สามารถควบคุมรายการได้ มิฉะนั้นจะทำให้บรรยากาศของงานดูสับสน และมีผลต่อบุคลิกภาพ รวมทั้งการพูดของพิธีกรไปทันที
2) จากประสบการณ์ของผู้เขียนเห็นว่างานแบบไม่เป็นพิธีการนั้นอาจจะดูง่ายๆ ไม่เคร่งครัดก็ตาม แต่พิธีกรหลายคนก็เป็นอันถึงกาลอนาคตดับไปเลยก็เพราะงานแบบนี้ ดังนั้น พิธีกรจะต้องมีความรู้สึกไวต่อบรรยากาศ และปฏิกิริยาของผู้ฟัง ทั้งนี้ เพื่อปรับให้ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในสภาพที่น่ารื่นรมย์ พิธีกรจะต้องมีปฏิภาณไหวพริบและต้องสามารถสร้างบรรยากาศของงานให้ได้
ผู้เขียนเคยไปร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์อยู่ครั้งหนึ่ง งานนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดไปเป็นเกียรติในงานด้วยและนับเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด จะด้วยเหตุอันใดไม่ทราบเมื่อพิธีกรเชิญผู้ว่าฯ ขึ้นปราศรัยท่านก็พูดอย่างสบายๆ แบบเป็นกันเองก็เลยใช้เวลามากไปหน่วย ขณะที่ผู้ว่าฯ กำลังพูดก็มีจดหมายน้อยส่งขึ้นมา พิธีกรรีบปราดออกไปรับทันที แล้วก็เปิดจดหมายอ่านในใจ ผู้ว่าฯ เหลือบเห็นก็เลยถามว่า “มีอะไรหรือ” ด้วยความซื่อหรือจะเรียกว่าอะไรก็ไม่ทราบ พิธีกรยื่นจดหมายน้อยให้ผู้ว่าฯ ทันทีพอผู้ว่าฯ เปิดจดหมายออกอ่านด้วยน้ำเสียงดังฟังชัดสมกับเป็นผู้นำ จากข้อความที่เขียนมาว่า “หยุดพูดเสียที อยากจะฟังเพลงแล้ว เบื่อว่ะ” เหตุการณ์เป็นอย่างไรต่อไปท่านคงจะพอเดาออก ปรากฏว่าพิธีกรซึ่งเป็นข้าราชการหนุ่มไฟแรงและนับเป็นครั้งแรกในชีวิตของเขาที่ทำหน้าที่นี้ถูกตำหนิอย่างมากมาย และนับแต่นั้นมาเขาก็ดูจะขยาดเวทีไปอีกนาน
3) การใช้ภาษาในงานแบบนี้ อาจจะต้องใช้ภาษาที่ทันสมัยปะปนไปด้วยก็ได้ แต่ต้องคำนึงถึงความพอดี ทั้งในแง่ของบรรยากาศ บุคคล และสถานที่ด้วยภาษาเหล่านี้จะเป็นตัวเสริมบรรยากาศให้เป็นกันเองได้ เช่น เจ๋ง วืด เนี๊ยบ เหล่านี้เป็นต้น
4) นอกจากนี้ ข้อแนะนำอื่นๆ ให้ดูจากข้อแนะนำในงานแบบพิธีการประกอบ เช่น เวลา การแต่งกาย การเตรียม Script
งานแบบกึ่งพิธีการ
งานลักษณะนี้บางโอกาสก็คือ งานพิธีการนั่นเอง เพียงแต่มีความแตกต่างของบรรยากาศ และบางโอกาสกคืองานแบบไม่เป็นพิธีการได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้จะสังเกตได้อย่างไร จากประสบการณ์ของผู้เขียนแล้วจะใช้วิธีพูดคุยกับเจ้าของงาน หรือผู้รับผิดชอบถึงขอบข่ายของงานลักษณะบรรยากาศ ลักษณะบุคคลที่เป็นประธาน และผู้มาร่วมงานเป็นหลัก งานลักษณะนี้ได้แก่ งานแต่งงาน งานบวช งานเลี้ยงรับรอง งานเกษียณอายุ เป็นต้น
ข้อแนะนำสำหรับพิธีกร
1) พิธีกรควรจะพูดคุยกับเจ้าของงานหรือผู้รับผิดชอบงานในรายละเอียดของงานให้แน่ชัดว่าช่วงใดจะต้องดำเนินรายการแบบเป็นทางการ หรือเป็นพิธีการช่วงใดสามารถดำเนินรายการโดยอิสระไม่ยึดรูปแบบเคร่งครัดหรือแบบไม่เป็นพิธีการ หากเจ้าของงานขอคำแนะนำเพราะไม่มั่นใจว่าจะทำอะไรช่วงใด พิธีกรต้องช่วยชี้แนะและวางรายการให้เพื่อให้เหมาะสมที่สุด
2) การเตรียมการอื่นๆ ของพิธีกรให้ศึกษาจากข้อแนะนำที่เสนอไว้ในงานแบบพิธีการและแบบไม่เป็นพิธีการ
กล่าวโดยสรุปแล้วการทำหน้าที่ของพิธีกรในลักษณะต่างๆนั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับหลักการที่ถูกต้องแล้ว ยังต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละองค์กรนั้นๆ ด้วย จะเป็นว่า งานบางงานจะเป็นทั้งแบบพิธีการและกึ่งพิธีการหรือไม่เป็นพิธีการในงานเดียวกันก็ได้ ดังนั้น ประสบการณ์ การู้จักเป็นผู้สังเกต และการพัฒนาตนเองของพิธีกรเท่านั้นที่จะทำให้การทำหน้าที่พิธีกรแต่ละครั้งดำเนินไปได้อย่างน่าประทับใจ
งานลักษณะนี้บางโอกาสก็คือ งานพิธีการนั่นเอง เพียงแต่มีความแตกต่างของบรรยากาศ และบางโอกาสกคืองานแบบไม่เป็นพิธีการได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้จะสังเกตได้อย่างไร จากประสบการณ์ของผู้เขียนแล้วจะใช้วิธีพูดคุยกับเจ้าของงาน หรือผู้รับผิดชอบถึงขอบข่ายของงานลักษณะบรรยากาศ ลักษณะบุคคลที่เป็นประธาน และผู้มาร่วมงานเป็นหลัก งานลักษณะนี้ได้แก่ งานแต่งงาน งานบวช งานเลี้ยงรับรอง งานเกษียณอายุ เป็นต้น
ข้อแนะนำสำหรับพิธีกร
1) พิธีกรควรจะพูดคุยกับเจ้าของงานหรือผู้รับผิดชอบงานในรายละเอียดของงานให้แน่ชัดว่าช่วงใดจะต้องดำเนินรายการแบบเป็นทางการ หรือเป็นพิธีการช่วงใดสามารถดำเนินรายการโดยอิสระไม่ยึดรูปแบบเคร่งครัดหรือแบบไม่เป็นพิธีการ หากเจ้าของงานขอคำแนะนำเพราะไม่มั่นใจว่าจะทำอะไรช่วงใด พิธีกรต้องช่วยชี้แนะและวางรายการให้เพื่อให้เหมาะสมที่สุด
2) การเตรียมการอื่นๆ ของพิธีกรให้ศึกษาจากข้อแนะนำที่เสนอไว้ในงานแบบพิธีการและแบบไม่เป็นพิธีการ
กล่าวโดยสรุปแล้วการทำหน้าที่ของพิธีกรในลักษณะต่างๆนั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับหลักการที่ถูกต้องแล้ว ยังต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละองค์กรนั้นๆ ด้วย จะเป็นว่า งานบางงานจะเป็นทั้งแบบพิธีการและกึ่งพิธีการหรือไม่เป็นพิธีการในงานเดียวกันก็ได้ ดังนั้น ประสบการณ์ การู้จักเป็นผู้สังเกต และการพัฒนาตนเองของพิธีกรเท่านั้นที่จะทำให้การทำหน้าที่พิธีกรแต่ละครั้งดำเนินไปได้อย่างน่าประทับใจ
สุดยอดครับ ขอบคุณมากกำลังหาข้อมูลอยู่พอดี พรุ่งนี้จะเป็นพิธีกรงานเลี้ยงของโรงเรียน
ReplyDeleteประสบการณ์ผมที่ทำให้ขยาดเวทีไปอย่างมาก คือ การดำเนินงานผิดลำดับคิว ถึงแม้จะแก้สถานการณ์ได้ แต่ก็จำฝังใจ เนื่องจากการเตรียมการของ Organizer ไม่พร้อมทำให้เราได้ดู Script ก่อนพิธีเริ่มเพียงแค่ 10 นาที ตั้งแต่นั้นปฏิเสธงานมาตลอดครับ
ReplyDelete"แม่นำ" คืออะไรหรือครับ หมายความว่าอย่างไรครับ
ReplyDelete