หาอะไรก็เจอ

Thursday, September 3, 2009

เทคนิคการใช้ไมโครโฟน

วรรณภา วรรณศรี

ทำไมต้องมาพูดกันถึงเรื่องของไมโครโฟน ? ก็เพราะพิธีกรกับไมโครโฟนเป็นของคู่กัน หากจะเปรียบว่า "มือถือไมค์ไฟส่องหน้า" เหมือนนักร้องก็คงไม่ผิดกันสักเท่าไหร่นัก พิธีกรหลายคนเสียอนาคตไปเพราะไมโครโฟนก็มากมาย โดยเฉพาะ "พิธีกรมืออาชีพ" แต่ไม่ได้มีอาชีพพิธีกรอย่างเราท่าน บางงานเจ้าภาพก็ไม่ได้สนใจระบบเครื่องเสียงสักเท่าใด คงอาจเห็นว่าตนเองไม่ได้พูด ประกอบพิธีกรก็มักจะเป็นประเภทขอแรงมาช่วยกัน ดังนั้่นขอให้พูดผ่านไมโครโฟนแล้วมีเสียงออกมาทางลำโพงให้ได้ยินกันอย่างทั่วถึงก็ถือว่าระบบเสียงใช้ได้แล้ว ผู้เขียนเองก็จะเจอเหตุการณ์แบบนี้เป็นประจำ และเราท่านทั้งหลายก็คงจะต้องอยู่ในฐานะเดียวกับผู้เขียนเป็นส่วนใหญ่ เจ้าภาพหรือเจ้าของงานมักจะลืมความสำคัญของระบบเสียง เพราะมั่นใจในตัวพิธีกร แต่หารู้ไม่ว่า พิธีกรต้องสูญเสียบุคลิกภาพการพูดไปอย่างน่าเห็นใจ

แต่อย่างไรก็ตามขอเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับเทคนิคการใช้ไมโครโฟนจากประสบการณ์ของผู้เขียนเอง เพื่อว่าอาจจะเป็นแนวทางสำหรับทุกท่านบ้าง
1) ควรไปถึงงานก่อนเวลาสัก 1 ชั่วโมง แล้วลองพูดผ่านไมโครโฟนดูว่า กระแสเสียงเป็นอย่างไร ชัดเจนแค่ไหน ตามปกติจะมีตำราว่า การใช้ไมโครโฟนควรให้ห่างจากปากประมาณ 10 นิ้ว แต่จากประสบการณ์ผู้เขียนแล้ว พบว่า ไมโครโฟนสมัยนี้มีหลายแบบหลายรุ่น บางรุ่นอยู่ห่างปากพูดเบาๆก็ได้ยิน บางรุ่นต้องถือจ่อไว้เกือบติดปากเสียงจึงจะชัดเจน ดังนั้นขอเสนอเป็นบรรทัดฐานว่า ควรถือไมโครโฟนห่างจากปากประมาณ 1 คืบ จะเหมาะที่สุด
2) ขณะพูดควรสังเกตเสียงที่ออกจากไมโึีครโฟนด้วยว่า ชัดเจนแค่ไหน ท่่านต้องปรับระยะการใช้ไมโครโฟนให้เหมาะสมสมอ บางทีพูดๆไปเสียงลมจากการเปิดปากพูด หรือเสียงลมหายใจจะออกมาชัดเจน ต้องใช้วิธีดึงไมโครโฟนออกห่างจากปากสักหน่อยแล้วพูด หรือถ้าเป็นไมค์ลอยลักษณะการถือมักจะต้องจับไมโครโฟนเกือบขนานกับพื้นเสียงจึงจะออกมาชัดเจน
3) ต้องสังเกตว่า สวิชท์เปิดปิดไมโครโฟนอยู่ตรงไหน ก่อนพูดต้องเปิดให้เรียบร้อยและพูดจบต้องปิดให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันเสียงอื่นๆแทรกขณะไม่ได้ใช้ไมโครโฟน นอกจากนี้ขาตั้งไมค์จะมีหลายแบบท่านต้องศึกษาจากผู้ควบคุมเสียงว่าจะเลื่อนขึ้นลงอย่างไร บางรุ่นจะใช้วิธีหมุนเกลียว บริเวณขาไมค์ บางรุ่นจะใช้วิธียกที่ข้อต่อ ท่านต้องสอบถามให้แน่ชัด
4) เมื่อเริ่มต้นพูดอย่าทดลองเสียงด้วย คำว่า "ฮัลโหล...ฮัลโหล" หรือเคาะ หรือเป่าลมใส่ไมโครโฟนเป็นอันขาด ควรพูดออกไปเลยว่า "สวัสดีค่ะ (ครับ)" และนี้เองที่ท่านจะเป็นต้องมาถึงงานก่อนเวลาเริ่มงานเพื่อทดสอบความพร้อมของไมโครโฟน
5) เมื่อพูดจบแต่ละช่วงหากท่านจำเป็นต้องยืนอยู่บนเวที และต้องถือไมโครโฟนไว้ ควรถือไว้ระดับเอว อย่ายืนถือแบบตามสบายโดยหย่อนข้างลำตัว พราะจะทำให้ดูบุคลิกภาพไม่ดี

และนี่คือเรื่องราวของเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ เที่ยวกับการใช้ไมค์โครโฟน ซึ่งพิธีกรทุกคนควรจะทราบ เพราะสิ่งเล็กๆ น้อย ๆ เหล่านี้อาจจะสร้างความสำเร็จและความล้มเหลวให้พิธีกรได้เช่นนั้น

1 comment: