การเข้ารับการฝึกพูดในสโมสรฝึกพูดหลายๆสโมสรในประเทศไทยนั้น ส่วนมากการฝึกพูดจะเป็นไปตามหลักสูตร และ แนวทาง ของสโมสรฝึกพูดสากล หรือ Toastmasters International ที่มีสำนักงานกลางอยู่ที่เมือง Santa Ana, California, U.S.A. มี Website คือ www.toastmasters.org มีสาขาของสโมสรฝึกพูดอยู่ทั่วโลก สโมสรฝึกพูดไม่ว่าจะเป็นชุมนุมฝึกพูดตามสถาบันการศึกษาทั่วประเทศต่างก็ได้ใช้หลักสูตรแนวทางเดียวกัน
วัตถุประสงค์หลักในการรับเข้าการฝึกพูดในสโมสรฝึกพูดก็คือการฝึกหัดให้พูด เป็น การฝึกพูดตามหลักสูตร หรือ แนวทางของการฝึกที่มาตรฐาน ก็คือการพัฒนาการพูด พัฒนาความกล้าพูดในที่ชุมชน และ ที่สำคัญที่สุดก็คือรับรับฟังการวิจารณ์จากผู้อื่น เพื่อให้การพัฒนาการพูดสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ความหมายของแต่ละบทพูดของหลักสูตรการฝึกพูดมาพอสังเขปดังนี้
บทที่ 1 การแนะนำตัวเอง บทนี้มีจุดมุ่งหมายในอันที่จะให้ผู้พูดกล่าวแนะนำตนเองว่าเป็นใครมาจากไหน เกิดที่ไหน โตที่ไหน ประทับใจอะไร มีอุดมคติเป็นเช่นไร บทนี้เองที่นำพาให้ผู้ฝึกเปิดเผยตัวเองต่อผู้อื่นที่นั่งฟังอยู่ และเป็นก้าวแรกในการพัฒนาตนเอง
บทที่ 2 การพูดจากใจจริง บทนี้มีจุดมุ่งหมายในอันที่จะให้ผู้พูด ให้กล่าวในเรื่องใดก็ได้ที่ท่านมีความประสงค์อย่างแรงกล้าที่จะถ่ายทอดความรู้สึกนั้นๆจากใจจริงของผู้พูดให้ผู้ฟังคล้อยตาม จะเป็นเรื่องอะไรก็ได้ที่สามารถสะท้อนปัญหาที่ควรจะได้รับความยุติธรรมหรือได้รับการแก้ไข
บทที่ 3 การสร้างโครงเรื่อง บทนี้มีจุดมุ่งหมายในอันที่จะให้ผู้พูดรู้จักวิธีผูกเค้าโครงเรื่อง โดยมี 3 ท่อนๆแรกจะเป็นการกล่าวขึ้นต้น ท่อนสองจะเป็นเนื้อเรื่อง ท่อนท้ายก็จะเป็นบทสรุป
บทที่ 4 การใช้มือประกอบการพูด บทนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะฝึกให้ผู้พูดฝึกการใช้มือประกอบการพูดให้เหมาะสม และสัมพันธ์การบทพูด
บทที่ 5 การใช้น้ำเสียงระดับต่างๆ บทนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะเพิ่มทักษะการใช้เสียงดังค่อยประกอบการพูด เพื่อให้ผู้ฟังสามารถคล้อยตามได้
บทที่ 6 การพูดที่ได้จัดลำดับหัวข้อ บทนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้ฝึกจัดเรียงความสำคัญของการพูดอย่างมีลำดับขั้นตอน เป็นการรวมเอาการพูดตั้งแต่บท 1 จนถึงบท 5 มารวมกัน
บทที่ 7 การอ่านคำปราศรัย บทนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้พูดสามารถอ่านรายงาน หรือ กล่าวปราศรัย ได้สมบูรณ์ และมีท่วงท่าในการกล่าวปราศรัย หรืออ่านรายงานสะกดผู้ฟัง
บทที่ 8 การสร้างภาพพจน์ด้วยคำพูด บทนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้พูดสามารถพูดให้ผู้ฟังเกิดภาพพจน์ จินตนาการคล้อยตาม หรือเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้
บทที่ 9 การใช้ศัพท์สำนวน บทพูดบทนี้มีจุดมุ่งหมายในอันที่จะให้ผู้ดสามารถใช้ศัพท์ ที่แปลกไปจากภาษาพูดพื้นๆทั่วไปได้มากขึ้น
บทที่ 10 การพูดในโอกาสพิเศษ บทนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้พูดขึ้นพูดในโอกาสพิเศษ เช่นกล่าวแสดงความยินดี, อวยพร, ยกย่อง, งานเปิดป้าย, งานมงคลสมรส, รับงานใหม่ หรือ ส่งมอบงาน
บทที่ 11 การสร้างโครงเรื่องอย่างละเอียดพิศดารบทนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาผู้พูดให้มีความละเอียดลึกซึ้ง เป็นขั้นสูงกว่าการเอา บทที่ 3 และ บทที่ 6 รวมกันให้ผู้ฟังเข้าใจ, พอใจ, คล้อยตาม
บทที่ 12 ก้าวต่อไปของการฝึกพูด บทนี้ก็จะเป็นบทสรุปที่จะทำให้ผู้พูดมีความสามารถในอันที่จะนำเอาความรู้ในทุกบทความรวมกันเป็นหนึ่ง
หลังจากที่ได้เข้ารับการฝึกในสโมสรฝึกพูดจบลงแล้ว ท่านก็จะเป็นผู้หนึ่งที่พูดเป็น, ลดความประหม่า, ลดความอาย เพิ่มความกล้า, กล้าสู้สายตาผู้ฟัง, รู้จักการเรียงลำดับขั้นตอน, มีลักษณะการเป็นผู้นำเกิดขึ้น, สามารถควบคุมและพูดได้ตามสิ่งที่นึกคิดได้ในทุกโอกาส, สามารถรับฟังความเห็นของผู้อื่นโดยไม่ตอบโต้ ต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นคุณสมบัติของพิธีกรที่ดีในอนาคต
ข้อเสนอแนะ พิธีกร ที่ดีและอยู่ได้นานในเวทีของการเป็น พิธีกร นั้น หากขาดซึ่งการฝึกฝนแล้ว ยากนักที่จะดำรงคงความเก่งของตนเองได้นาน ดังนั้นหากท่านจะเป็น พิธีกร ที่ดีได้ก็ด้วยการฝึกฝน ซักซ้อม บ่อยๆยิ่งมากยิ่งดี ฝึกอ่าน อ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือ ฝึกฟังจากวิทยุ และ โทรทัศน์ ฝึกพูดบ่อยๆให้เพื่อนให้ญาติให้ครอบครัวฟังบ่อยๆ พูดบ่อยๆ แล้วฟังคำวิจารณ์ของเขาเหล่านั้นว่าอยู่ในระดับใด พูดจนหมดคนฟังแล้วก็ไปพูดต่อหน้ากระจกเงา พูดบ่อยๆ ฝึกบ่อยๆ หรือ บันทึกเสียงแล้วถอยเทปกลับมาฟังตนเองวิจารณ์ตนเองว่าพูดเข้าตากรรมการหรือไม่ การฝึกต่างๆเหล่านี้ ช่วยท่านได้ ช่วยท่านเป็น พิธีกร ชั้นเลิศได้ เชื่อว่า ท่านทำได้
หาอะไรก็เจอ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment